การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นตามแนวพระพุทธศาสนา ของประชาชนในตำบลบ้านโตก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • พระยุทธนา ชยเมธี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุมาลี บุญเรือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เติมศักดิ์ ทองอินทร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การเมือง, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นของประชาชน 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นของประชาชน 3. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นตามแนวพระพุทธศาสนา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 387 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 10 รูปหรือคน จากจำนวน 5 กลุ่ม แล้ววิเคราะห์คำให้สัมภาษณ์ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นของประชาชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีความคิดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3. การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นตามแนวพระพุทธศาสนา พบว่า 1. การหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ เป็นการร่วมประชุมเพื่อจุดมุ่งหมายเดียวกัน 2. การพร้อมเพรียงกันประชุมและเลิกประชุมพร้อมกัน แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบ 3. การไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่บัญญัติ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง 4. การเคารพ นับถือผู้ใหญ่เป็นการแสดงออกถึงการเคารพนับถือผู้อาวุโส 5. การให้เกียรติสิทธิสตรีควรเปิดโอกาสให้สตรีได้เข้ามามีบทบาทเป็นผู้นำชุมชน 6. การส่งเสริมและรักษาวัฒนธรรมจะต้องรักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม 7. นักการเมืองท้องถิ่นต้องส่งเสริมคนทำประโยชน์ให้กับท้องถิ่น

References

นุชปภาดา ธนวโรดม. (2557). พฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปวีณา อุดมกัน. (2553). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน : กรณีศึกษาตำบลบางทรายใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

พระปลัดเอกชัย จนฺทโชโต. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นตำบลหนองแก อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

(สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2553). ธรรมนูญชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 122). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระพุทธของธรรมสภา.

พระมหาณรงค์ ธมฺมเมธี. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการเลือกตั้งทั่วไปของชุมชนท่าเตียน กรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุรเดช สุเมธโส. (2562). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการตัดสินใจใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนเสียง เลือกตั้ง ทั่วไปสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในตำบลต้าผามอก อำเภอลองจังหวัดแพร่ (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สุรพล สุยะพรหม และสุทธิรัก ศรีจันทร์เพ็ญ. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยทางการจัดการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อมร รักษาสัตย์ และคณะ. (2544). ประชาธิปไตยอุดมการณ์ หลักการ และแบบอย่างการปกครองหลายประเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อังสุมาลิน ปัญญาแก้ว. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลตำบลเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่ (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2565).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01