การพัฒนาศักยภาพพระนวกะของคณะสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • พิชญกัญญา กองนิล นักวิจัยอิสระ

คำสำคัญ:

การพัฒนา, พระนวกะ, คณะสงฆ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาศักยภาพพระนวกะของคณะสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง 2. เปรียบเทียบศักยภาพพระนวกะของคณะสงฆ์  อำเภอเมือง  จังหวัดระยอง 3. นำเสนอการพัฒนาศักยภาพพระนวกะของคณะสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามจากพระนวกะในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง จำนวน 187 รูป ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 รูปหรือคน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงประกอบบริบทสรุปเป็นความเรียง

ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นของพระนวกะ ที่มีต่อการพัฒนาศักยภาพพระนวกะของคณะสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการพัฒนาทักษะ อยู่ในระดับมาก ถัดมา คือ ด้านเจตคติ ด้านพฤติกรรมด้านการฝึกอบรม ด้านการศึกษา ด้านคุณลักษณะ ด้านความสามารถ และลำดับสุดท้าย คือ ด้านความรู้ อยู่ในระดับมาก

References

กัญยุพา สรรพศรี. (2561). การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ตามหลักไตรสิกขาของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีษะเกษ เขต 1. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 19(2), 101-112.

ชัญญาณัฏฐ์ จิณณณัฐชา. (2554). การพัฒนาบุคคลโดยใช้แนวทางสมรรถนะ (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.

พระธีระเดช เตชธมฺโม. (2563). แนวทางการพัฒนาอินทรียสังวรของพระภิกษุนวกะในสังคมปัจจุบัน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(1), 30-41.

พระมหาจรัญ พุทธสิริ. (2558). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคณะสงฆ์ใน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักสาราณียธรรม (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวิเชียร ปญฺญาวชิโร. (2554). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขา: กรณีศึกษาโรงเรียนวิถีพุทธ ในเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาอภิชาต ฌานสุโภ และคณะ. (2564). รูปแบบการฝึกอบรมพระนวกะสำหรับวัดในประเทศไทย. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 81, 26-39.

วศิน อินทสระ. (2546). การเผยแผ่ศาสนา. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.

สิทธ์ บุตรอินทร์. (2533). พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สุจินตนินท หนูชูสีห์สกุล และคณะ. (2564). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามหลักคําสอนของพระพุทธศาสนาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขาสำหรับพระภิกษุนวกะ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(4), 1620-1621.

สุทธญาณ์ โอบอ้อม. (2558). การพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวพระพุทธศาสนา (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01