การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของประชาชนในตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • กิติพัธ คำสุข มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ธัชชนันท์ อิศรเดช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุมาลี บุญเรือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การประยุกต์หลักพุทธธรรม, การมีส่วนร่วม, ประชาชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของประชาชน 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธธรรมกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนและ 3. นำเสนอแนวทางกับการประยุกต์หลักพุทธธรรม เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างจากการคำนวนด้วยสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้จำนวน 361 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 รูปหรือคน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ความสัมพันธ์ระหว่างหลักอปริหานิยธรรมกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของ ประชาชนในตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างสูง (R=0.800**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐาน 3. แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน และเป็นการส่งเสริมประชาชนธิปไตย เพื่อแสดงความคิดเห็นและรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้นในชุม และหาข้อสรุปที่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม เป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ และเป็นการปลูกฝังจิตใต้สำนึกในเรื่องของมารยาทที่ดีให้กับประชาชนและคนรุ่นหลัง

References

กิตติ ศรีสมบัติ. (2559). การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารงานของเทศบาล ตำบลสัน ผักหวาน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จิราภพ ทวีสูงส่ง. (2566). ทำไม ? “เรา” ต้องมีส่วนร่วมทางการเมือง ในระบอบประชาธิปไตย. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://shorturl.asia/f91Sg

ณัฏฐพล บุณยพิพัฒน์. (2562). ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทย (พ.ศ. 2475-ปัจจุบัน): ข้อสังเกตในเชิงทฤษฎี. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญเรือน เนียมปาน. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองประชาชนในจังหวัดปทุมธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(12), 292-307.

พระมหาเอกกวิน ปิยวีโร. (2564). การนำหลักพุทธธรรมาภิบาลไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสรอยทอง ปฺญาวุโธ. (2563). การพัฒนาการมีสวนร่วมทางการเมืองของประชาชนในตำบลเมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มุกดา เตจ๊ะสา. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของสตรีในเขตเทศบาลตำบลวังผาง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชารัฐวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศิพิมพ์ ศรบัลลังก์ และจิราภรณ์ ดำจันทร์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนิสิตนักศึกษาหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2560. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 25(2), 140-153.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

โสภณ สุพงษ์. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของประชาชนในเทศบาล ตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Yamane, T. (1973). statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01