การประยุกต์หลักพลธรรมเพื่อส่งเสริมการปกครองท้องที่ ในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • พระมหาปณวัศ ปุญฺญโชตโก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เติมศักดิ์ ทองอินทร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การปกครองท้องที่, กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน, พลธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับการปกครองท้องที่ในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง 2. ของประชาชนต่อการปกครองท้องที่ในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง และ 3. นำเสนอแนวทางการประยุกต์หลักพลธรรมเพื่อส่งเสริมการปกครองท้องที่ในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี  คือ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างจากการคำนวนด้วยสูตรของทาโร่ ยามาเน่ จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน จำนวน 12 รูปหรือคน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

 ผลการวิจัยพบว่า 1. การปกครองท้องที่ในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการปกครองท้องที่ในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง พบว่า ประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นโดยรวมไม่แตกต่างกันส่วนประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3. แนวทางการประยุกต์หลักพลธรรมเพื่อส่งเสริมการปกครองท้องที่ในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง ได้แก่ 1. ด้านปัญญาพละ (กำลังความรู้) คือ ส่งเสริมให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้รอบรู้เรื่องราวต่าง ๆ 2. ด้านวิริยพละ (นำสู่การปฏิบัติ) คือ ส่งเสริมให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีความสามารถในการปฏิบัติงาน 3. ด้านอนวัชชพละ (ซื่อสัตย์สุจริต) คือ ส่งเสริมให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีคุณธรรมจริยธรรม และ 4. ด้านสังคหพละ (มีจิตอาสา) คือ ส่งเสริมให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีความเสียสละเพื่อส่วนรวม

References

กรมการปกครอง. (2550). กำนันผู้ใหญ่บ้าน. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.

_____. (2554). พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2475 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.

กุญชลี วรรณโร. (2562). บทบาททางการปกครองท้องที่ในปัจจุบัน: การศึกษาความคิดเห็นของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดกการภาครัฐและเอกชน). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

โกวิทย์ พวงงาม. (2552). การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

ธัญฬวณัฐ สีชมภู และคณะ. (2566). ทักษะในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กในศตวรรษที่ 21 ตามหลักพละ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 10(2), 51-65.

นงนุช โพธิ์สาน. (2560). การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในเขตอำเภอกันทรวิเชียร จังหวัดมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พระครูใบฎีกาเขมปัตถ์ สุทฺธิธมฺโม. (2564). การบริหารการพัฒนาตามแนวทางของหลักพละ 4 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วัชชรชัย สุทโท. (2562). บทบาทกำนัน ผู้ใหญ่บ้านตามความคิดเห็นของประชาชน ในเขตท้องที่อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วิภา รุ่งจรัส. (2560). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในเขตตำบลเหนือเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัย มหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 6(2), 119.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดระยอง. (2562). ข้อมูลผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั่วไปจังหวัดระยอง ปี 2562. สืบค้น 3 กรกฎาคม 2565, จาก https://th.wikipedia.org/

อนัญญา ศุภจรูญวงศ์. (2563). บทบาทของผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ในอนาค. วารสารศิลปการจัดการ, 4(3), 733.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed.). Tokyo: Harper International Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01