การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของวัด ในอำเภอละแม จังหวัดชุมพร

ผู้แต่ง

  • พระสิรภัทร สิริภทฺโท สำนักเรียนคณะจังหวัดชุมพร

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์, ชุมพร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับความคิดเห็นของพระสงฆ์ 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ และ 3. ศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะต่อการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของวัดในอำเภอละแม จังหวัดชุมพรเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 85 รูป
ซึ่งเป็นพระสงฆ์ในอำเภอละแม จังหวัดชุมพร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติอนุมาน และในเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 รูปหรือคน

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของวัดในอำเภอละแม จังหวัดชุมพร โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. พระสงฆ์ที่มีอายุ พรรษา และวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นโดยรวม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนพระสงฆ์ที่มีตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ต่างกัน มีความคิดเห็นโดยรวม แตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. ปัญหา อุปสรรค คือ บางวัดขาดการวางแผนการจัดการ แผนการจัดกิจกรรม บุคลากรไม่เพียงพอ ที่มีอยู่ก็ขาดความรู้ กระบวนการตรวจสอบไม่ชัดเจน ไม่นำข้อมูลการตรวจสอบไปปรับปรุงแก้ไข และข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการศึกษาข้อมูลเพื่อวางแผน ควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการ มอบมายงาน วางระเบียบปฏิบัติที่ชัดเจน ควรตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง และนำผลการตรวจสอบไปปรับปรุงพัฒนา

References

พระครูสมุห์พูลสวัสดิ์ ฐิตสีโล (2564). การอนุรักษ์พุทธสถานของวัดในอำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสุนทรสีลสัมบัน (คำรณ คุณสมฺปนฺโน). (2564). การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดในอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปิยะ ทินฺนวโร. (2564). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาเสถียร ถาวรธมฺโม (2554). การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์โบราณสถานของพระสังฆาธิการในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเอกลักษณ์ อชิโต. (2562). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวิถีพุทธของวัดในจังหวัดสมุทรสงคราม (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เยาวลักษณ์ เหล่าฤทธิ์. (2558). เที่ยววัด: แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ วัฒนธรรมริมฝั่งแม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 12(57), 165-175.

ฤทธิจักร จันทิมา (2565). แนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมภาคเหนือแบบยั่งยืน (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดชุมพร. (2564). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดชุมพร พ.ศ. 2560-2564. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://chumphon. mots.go.th/download/article/article_20190626144951.pdf

สำนักงานเจ้าคณะอำเภอละแม. (2566). สถิติพระภิกษุประจำพรรษา 2565. ชุมพร: สำนักงานเจ้าคณะอำเภอละแม.

สุธดี ชิดชอบ. (2548). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวในเกาะช้าง จังหวัดตราด (การค้นคว้าแบบอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01