รูปแบบการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ ของครอบครัววิถีชีวิตใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยา

ผู้แต่ง

  • กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหานันทวิทย์ แก้วบุตรดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระภาวนาวชิรวิเทศ (มงคล มงฺคโล) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • มนัสนันท์ ประภัสสรพิทยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • หนึ่งธิดา สาริศรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธจิตวิทยา, ความเข้มแข็งทางจิตใจ, ครอบครัววิถีชีวิตใหม่

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษารูปแบบการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจของครอบครัววิถีชีวิตใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยา และ 2. นำเสนอผลการประเมินจากการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจของครอบครัววิถีชีวิตใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบล ผู้อำนวยการและครู โรงเรียนในพื้นที่ จำนวน 10 คน กลุ่มผู้ปกครองจำนวน 14 ครอบครัว และนักเรียนเยาวชนในพื้นที่ 30 คน ในพื้นที่สำเภาล่ม อำเภอเมืองพระนครศรีนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึก ชุดกิจกรรม แบบสำรวจ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ t-test และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการส่งเสริมกิจกรรมเป็นชุดกิจกรรม 4 ระยะ ได้แก่ 1. เสริมสร้างพลังใจครอบครัวเข้มแข็งทางใจ 2. เชื่อมสายใยครอบครัว 3. สื่อสารสร้างสรรค์ 4. สื่อสารเชิงบวก และกิจกรรมครอบครัว ได้แก่ การบรรยายความรู้และการทำจิตอาสา 2. ผลการประเมินจากการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจของครอบครัววิถีชีวิตใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยา พบว่า เยาวชนและผู้ปกครองมีคะแนนเฉลี่ยตัวแปรพลังใจโดยรวมหลังอบรมแตกต่างกับก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรมและ ผลเชิงคุณภาพ พบว่า พฤติกรรมของเยาวชนและครอบครัวหรือผู้ปกครองมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

References

กุลภา วจนสาระ. (2554). ภาพและชีวิตครอบครัวในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2564). ผลการสำรวจสถานการณ์ความเข้มแข็งของครอบครัว ประจำปี 2563. สืบค้น 15 ตุลาคม 2565, จากhttps://shorturl.asia/aW8FG

นฤดี โสรัตน์ และคณะ. (2562). ความเข้มแข็งของครอบครัวในบริบทสังคมไทย: ลักษณะความเข้มแข็งของครอบครัว ปัจจัยและวิธีการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16(2), 427-437.

มนัสนันท์ ประภัสสรพิทยา และคณะ. (2564). โปรแกรมพัฒนาชีวิตสำหรับครอบครัวตามหลักพุทธจิตวิทยา. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(3), 405-420.

สุขุม เฉลยทรัพย์. (2565). ครอบครัวไทยในยุคโควิด-19. สืบค้น 15 ตุลาคม 2565, จาก https://kuza.me/TbIfK

สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2562). ชุดความรู้ครอบครัวเข้มแข็งตามมาตรฐานครอบครัวเข้มแข็งห้าด้าน. กรุงเทพฯ: กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

อายดา เจียพลอย. (2563) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการสร้างจิตอาสาเยาวชนไทย กรณีศึกษาโครงการ Hello massage โรงเรียนถนนหักพิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 8(3), 40-51.

องค์การบริหารส่วนตำบลสำเภาล่ม. (2565). ข้อมูลหมู่บ้าน. สืบค้น 20 มีนาคม 2565, จาก https://www.samphaolom.go.th/?page=main&id=3

Grothberg, E. (1995). A Guide to Promoting Resilience in Children: Strengthening the Human Spirit. Early Childhood Development: Practice and Reflections, v. 8. The Hague-NO: Bernard Van Leer Foundation.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01