การพัฒนารูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พระครูสุธรรมธีรานุยุต (ธีรศักดิ์ ธมฺมธีโร) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • นิกร ศรีราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การเผยแผ่พระพุทธศาสนา, พระธรรมทูต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตในจังหวัดนครราชสีมา 2. พัฒนารูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตในจังหวัดนครราชสีมา ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 รูปหรือคน และการสนทนาเฉพาะกลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตมีจุดแข็ง คือ มีกิจกรรมหลากหลาย พระธรรมทูตส่วนใหญ่มีความรู้อย่างดีมีสื่อที่หลากหลาย มีความร่วมมือกับหน่วยงานราชการ โรงเรียน จุดอ่อน คือ การเผยแพร่หลักธรรมในรูปแบบเดิม ๆ ขาดปัจจัยพัฒนาอุปกรณ์สารสนเทศ ไม่มีการติดตามและประเมินผล โอกาส คือ นครราชสีมา มีประชากรหนาแน่น ประชาชนและ เยาวชนมีแนวโน้มสนใจธรรมะ อุปสรรค คือ ประชาชนขาดความเข้าใจในหลักธรรม การประเมินผลยังไม่มีประสิทธิภาพ 2. การพัฒนารูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูต พบว่า การวางแผนที่ชัดเจน ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ พัฒนาพระธรรมทูตให้มีความมีความรู้ การลงมือปฏิบัติ อย่างเป็นระบบ ใช้สื่อและวิธีที่เหมาะสม เลือกหัวข้อธรรมที่เหมาะสม เป็นแบบอย่างที่ดี การตรวจสอบ วิเคราะห์ผล จากการสำรวจความคิดเห็น การปรับปรุงแก้ไข แผนการดำเนินงาน พัฒนาศักยภาพของพระธรรมทูต สร้างเครือข่ายการเผยแผ่ ติดตามและประเมินผล

References

นิพนธ์ทิพย์ ศรีนิมิต และพระครูพิสิฐ ปุญญากร. (2558). ศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระครูวิสุทธิ บุญดิตถ์ (พ่อท่านนวล ปริสุทฺโธ). วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 2(2), 67-78.

บุญเหลือ อกิณฺจโน. (2560). ศึกษาแนวทางการเผยแผ่ธรรมะของพระสงฆ์ตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. วารสารธาตุพนมปริทรรศน์, 1(2). 111-120.

พระครูนรนาถเจติยาภิรักษ์ (สมพงศ์ ญาณธีโร). (2561). รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกของพระธรรมทูต สายอินเดีย-เนปาลตามหลักพุทธจิตวิทยา (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวิเทศกัลยาณธรรม (ฐิติกร กลฺยาณธมฺโม). (2564). การพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของวัดไทยในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระภมร ภูริปญฺโญ และพระปลัดอร่าม เรนโท. (2566). การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมปัจจุบัน. วารสารพุทธจิตวิทยา, 8(2), 321-334.

พระมหาชาญชัย ชวนชโย. (2565). การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของวัดพระธรรมกายบาวาเรียยุคดิสรัปชั่น ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี. วารสารพุทธนวัตกรรมปริทรรศน์, 3(2), 39-51.

พระมหาสุเทพ สุวฑฺฒโน. (2562). กลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตสายต่างประเทศ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(3), 1363-1378.

พระศรีรัชมงคลบัณฑิต (อรุณ พุทฺธิสาโร) และคณะ. (2565). พฤติกรรมการเรียนรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาของเยาวชนไทย. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 27(2), 82-96.

พระสมหวัง ผลญาโณ. (2561). แนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขาเขตพื้นที่ อำเภอแม่แจ่มจังหวัดเชียงใหม่. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 9(2). 94-105.

วนิดา ชุลิกาวิทย์ และคณะ. (2566). พลวัตการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในศตวรรษที่ 21. วารสาร ธรรมเพื่อชีวิต, 29(2), 59-72.

สาคร สุขศรีวงศ์. (2552). การจัดการ : จากมุมมองนักบริหาร. กรุงเทพฯ: บริษัท จี. พี. ไซเบอร์พริ้นท์ จำกัด.

Deming, E. W. (1995). Out of the Crisis. USA: The Massachusetts Institute of Technology Center for Advanced Engineering Study.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01