รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ตามหลักพุทธธรรมของคณะสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พระครูปลัดเสนาะ วิสุทฺโธ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูสุธีกิตติบัณฑิต (กฤษฎา กิตฺติโสภโณ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การพัฒนา, คุณภาพชีวิต, หลักพุทธธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพทั่วไป 2. ศึกษาองค์ประกอบ 3. นำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนตามหลักพุทธธรรมของคณะสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 รูปหรือคน และการสนทนาเฉพาะกลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า 1. จุดแข็ง ให้การช่วยเหลือทางสังคม โดยเน้นการใช้หลักธรรมในชีวิตประจำวันและการสร้างสังคมที่มีคุณธรรม จุดอ่อน คือ ขาดการวางแผนและการจัดการที่มีประสิทธิภาพ โอกาส การยอมรับจากชุมชนและหน่วยงานรัฐบาล อุปสรรค การเมืองที่เปลี่ยนแปลง และความหลากหลายทางวัฒนธรรม 2. องค์ประกอบ พบว่า 1. การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ แม้พระสงฆ์บางรูปจะขาดความรู้ในการวางแผนและการเขียนโครงการ แต่ก็สามารถ จัดโครงการอบรมในด้านนี้ได้เป็นอย่างดี 2. การดำเนินงานของแผนและโครงการ พระสงฆ์มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชน 3. การติดตามและประเมินผลเป็นกระบวนการที่พระสังฆาธิการให้ความสำคัญ 4. การรับผลประโยชน์ กิจกรรมเหล่านี้ช่วยพัฒนาตัวบุคคลและชุมชนในหลายด้าน รวมทั้งการเผยแผ่พระพุทธศาสนา 3. รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนตามหลักพุทธธรรม พบว่า 1. ด้านกายภาวนา โดยเน้นการพิจารณาปัจจัยพื้นฐาน 4 เพื่อป้องกันโรคเรื้อรัง 2. ด้านสีลภาวนาการมีศีล ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขในครอบครัวและชุมชน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ 3. ด้านจิตตภาวนา เน้นการพัฒนาจิตใจผ่านการปฏิบัติสติปัฏฐานและวิปัสสนา
4. ด้านปัญญาภาวนา ศึกษาและปฏิบัติตามหลักของพระพุทธเจ้า

References

ถนัด ยันต์ทอง. (2565). แนววิถี พุทธะ : การดำเนินชีวิตตามหลักพุทธธรรมของสังคมไทย วัดป่าเลไลยก์จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 1(1), 1-15.

นพมณี เชื้อวัชรินทร์. (2556). จิตวิทยาศาสตร์กับธรรมะทางพุทธศาสนา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(3), 1-14.

พระครูนิวิฐศีลขันธ์ (ณรงค์ ฐิตวฑฺฒโน). (2557). รูปแบบการพัฒนาทุนมนุษย์ตามหลักพุทธธรรมในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสารกิจประยุต (กาบ ฐานทตฺโต) และพระปลัดพนมภรณ์ ฐานิสฺสโร. (2564). ความสำคัญของพระพุทธศาสนากับการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. วารสาร

ศรีล้านช้างปริทรรศน์, 7(2), 181-181.

พระครูสิริธรรมาภิรัต (ธรรมรัต อริยธมฺโม) และพระวิสุทธวรกิจ (เสน่ห์ ธมฺมรํสี). (2561). พระสงฆ์กับการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 1(1), 1-17.

วชิราวัลย์ มหพรภัสสร์. (2566). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผ่านหลักสูตรครูสมาธิของสมเด็จพระญาณวชิโรดม (หลวงพ่อวิริยังค์) เชิงพุทธบูรณาการ (ดุษฎีนิพนธ์

พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2540). ความสำคัญของพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

สกุล อ้นมา. (2015). ภาพลักษณ์ของพระสงฆ์ในมุมมองของประชาชนในตำบลแสนสุข อำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 23(41), 1-20.

ชุลีรัตน์ เชื้อนุ่น. (2566). การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักพุทธธรรม (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อารยา บัตรเจริญ และคณะ. (2564). ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมเพื่อการบรรเทาความทุกข์ในใจ. Journal of Buddhist Education and Research, 6(2), 216-225.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01