การบูรณาการพุทธจริยธรรมทางการเมืองเพื่อการพัฒนานักการเมืองท้องถิ่นในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง
คำสำคัญ:
การบูรณาการ, พุทธจริยธรรมทางการเมือง, การพัฒนา, นักการเมืองท้องถิ่นบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อจริยธรรมทางการเมือง 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพุทธจริยธรรมทางการเมือง กับการพัฒนานักการเมืองท้องถิ่น และ 3. การบูรณาการพุทธจริยธรรมทางการเมืองเพื่อการพัฒนานักการเมืองท้องถิ่นในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ ประชาชนในตำบลเชิงเนิน ตำบลท่าประดู่ และตำบลน้ำคอก จำนวน 69,294 และสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ได้จำนวน 398 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย 1. สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2. สถิติอนุมาน วิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีการของเพียร์สัน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 รูปหรือคน ประกอบด้วย นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ นักการเมืองท้องถิ่น และกลุ่มผู้นำชุมชน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อจริยธรรมทางการเมืองเพื่อการพัฒนานักการเมืองท้องถิ่นในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2. หลักฆราวาสธรรม 4 มีความสัมพันธ์กับการพัฒนานักการเมืองท้องถิ่นในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ในเชิงบวกระดับปานกลาง และมาตรฐานจริยธรรมทางการเมืองกับการพัฒนานักการเมืองท้องถิ่น
ในอำเภอเมืองจังหวัดระยอง มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ในเชิงบวกระดับต่ำ 3. การบูรณาการพุทธจริยธรรมทางการเมืองเพื่อการพัฒนานักการเมืองท้องถิ่นในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง ดังนี้ 1. หลักสัจจะ นักการเมืองท้องถิ่น ควรมีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่และประชาชน 2. หลักทมะ รู้จักที่จะควบคุมอารมณ์ได้แม้จะประสบกับปัญหา 3. หลักขันติ นักการเมืองท้องถิ่นมีความอดทนทำหน้าที่ด้วยความขยันหมั่นเพียร 4. หลักจาคะ สละความสุขส่วนตนเพื่อช่วยเหลือคนอื่น
References
ชุติพนธ์ วงษ์อมรวิทย์. (2563). การเสริมสร้างจริยธรรมทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น ในจังหวัดนครราชสีมา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบันฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมฟาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ณัฏฐพล บุณยพิพัฒน์. (2562). ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทย(พ.ศ. 2475-ปัจจุบัน): ข้อสังเกตในเชิงทฤษฎี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
ดิลก บุญอิ่ม และพระอธิการสุชาติ จนฺทสโร. (2561). ฆราวาสธรรม 4: สูตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามวิถีพุทธ. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 7(2), 338-352.
ทิพย์พรรณ นพวงศ์ ณ อยุธยา และคณะ. (2564). ประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
พงษ์เมธี ไชยศรีหา. (2561). ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติของประชาชนเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยศึกษาเปรียบเทียบเขตเมืองกับเขตชนบท. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 8(3), 9-23.
พระมหานรินทร์ สุรปญฺโญ. (2564). การประยุกต์หลักพุทธจริยธรรมเพื่อพัฒนาจริยธรรมทาง การเมืองของผู้นำทางการเมืองในจังหวัดชัยภูมิ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิชญา เหลืองรัตนเจริญ. (2555). กระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด (ดุษฎีนิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักวิชาการและสำนักกฎหมาย. (2564). สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรสำนักวิชาการ. สืบค้น 15 กรกฎาคม 2565, จาก https://shorturl.asia/CrJuH
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed.). Tokyo: Harper International Education.