การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างทีมงานของธุรกิจธนาคาร ในเขตอยุธยา
คำสำคัญ:
การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม, เสริมสร้างทีมงาน, ธุรกิจธนาคารบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับความคิดเห็นทีมงาน 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงาน 3. นำเสนอปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะกับการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างทีมงานของธุรกิจธนาคารในเขตอยุธยา ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากพนักงานธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ในเขตอยุธยา จำนวน 144 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า 1. พนักงานมีความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างทีมงานของธุรกิจธนาคาร ในเขตอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า พนักงานที่มีเพศต่างกัน มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ โดยภาพรวม แตกต่างกัน จึงเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย พนักงานที่มีตำแหน่งต่างกัน มีอายุการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็น โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย 3. ปัญหา อุปสรรค ที่การใช้หลักพุทธธรรมในธุรกิจธนาคารเพื่อเสริมความไว้วางใจและความร่วมมือเป็นเรื่องที่มีคุณค่า แต่ประสบปัญหาจากความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความเชื่อ การตีความหลักคำสอนที่แตกต่างกัน และความท้าทายในการรวมเข้ากับวัฒนธรรมองค์กร การฝึกอบรมและการพัฒนาที่ต้องการทรัพยากรและเวลามากทำให้การปรับตัวยาก จึงต้องพัฒนาแนวทางเหมาะสมเพื่อลดผลกระทบของปัญหาเหล่านี้ ความเข้าใจเรื่องการเปิดเผยตามหลักพุทธธรรม การปรึกษาหารือ การสร้างความร่วมมือ และการติดตามการพัฒนาทีมงานนั้นต้องการความเข้าใจ การสื่อสาร และความยืดหยุ่นจากทุกฝ่ายเพื่อสร้างความสำเร็จ
References
จรุ ถิ่นพระบาท. (2558). บทบาทของผู้บริหารในการสร้างทีมงานเพื่อพัฒนาองค์กร กรณีศึกษาองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 7(1), 43-51.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์ และคณะ. (2524). การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: เอ็กซ์เปอร์เน็ท.
ธนปภัส ตติยทิติมา และวอนชนก ไชยสุนทร. (2560). ความภักดีในการใช้บริการด้านสินเชื่อของกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดย่อมของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 7(1), 1-15.
ปิติพัฒน์ นิตยกมลพันธุ์. (2564). The Relationship between Macroeconomic and Bank-specific Determinants with Non-Performing Loans: Evidence from Thailand Banking Sector: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจมหภาค และลักษณะเฉพาะของธนาคารพาณิชย์ไทยกับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 8(2), 160-179.
พรฑิตา อังกินันทน์. (2560). แนวทางการพัฒนาองค์การประเภทธุรกิจธนาคารสู่องค์การแห่งการเรียนรู้กรณีศึกษา ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (วิทยานิพนธ์
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พระสักชัย จิตฺตสุโภ. (2564). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสำนักงานเทศบาลนครนครสวรรค์ (สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระอภิชัย เพ็งกรูด. (2565). แนวทางการพัฒนาการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วรินทร จินดาวงศ์. (2566). การพัฒนาปัญญาภายใน : แนวคิดและการประยุกต์หลักพุทธธรรม. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 6(2), A127-A135.
สุรวุฒ ณ ระนอง. (2566). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารองค์กร. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 6(1), A189-A198.