การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • พระใบฎีกาอภิสิทธิ์ ฐิตเมโธ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระอุดมสิทธินายก (กำพล คุณงฺกโร) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • นิกร ศรีราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์, การบริหารจัดการ, โรงเรียนผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์กับการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ 2. เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์กับการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. ศึกษาปัญหา อุปสรรค เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 8 รูปหรือคน วิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาสรุปเป็นความเรียง และการวิจัย
เชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง คือ พระสงฆ์ ใน 4 ตำบล จำนวน 103 รูป สถิติที่ใช้คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

ผลการวิจัยพบว่า 1. พระสงฆ์มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า พระสงฆ์ที่มีตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ มีอายุพรรษา มีการศึกษานักธรรม ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์กับการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย 3. ปัญหา อุปสรรค โรงเรียนผู้สูงอายุขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้และทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ งบประมาณจำกัด และมีความไม่แน่นอนในแหล่งที่มาของงบประมาณหลัก ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินงานและความปลอดภัยของผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพ

References

เกษม เที่ยงรอด. (2566). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(6), 252-264.

เกวลิน จารเทพ. (2564). รูปแบบการบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา

พุทธบริหารการศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ประนอม ปวนคำ. (2565). การส่งเสริมพลังเครือข่ายการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าซาง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2565). การออกแบบเพื่อทุกคน: แนวคิดและลักษณะการออกแบบที่อยู่อาศัย สำหรับผู้สูงอายุ. วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มมรวิทยาเขต อีสาน, 3(2), 67-81.

บุษบา อู่อรุณ และคณะ. (2565). การตลาดดิจิทัลกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 24(1), 223-232.

พระใบฎีกาสนธยา ธมฺมวโร. (2566). การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาชุมชนดอนกรวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เพ็ชรเกษตร วิเชียรแสน และคณะ. (2565). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุโดยการประยุกต์ศาสตร์ พระราชาจังหวัดอุดรธานี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(8), 98-113.

ภารดี นานาศิลป์. (2558). ความรู้การพยาบาลผู้สูงอายุ : ผู้สูงอายุคือใคร อายุ หรือ ปัจจัยใดช่วยกำหนด. วารสารพยาบาลสาร, 42(ฉบับพิเศษ), 156-162.

มณีรัตน์ อินทพันธ์. (2552). กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวมตำบลริมปัง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 5(2), 239-248.

สมบูรณ์ วัฒนะ. (2560). การดูแลบิดามารดาสูงอายุตามหลักคำสอนเรื่องทิศหกในพระพุทธศาสนาของครอบครัวไทยพุทธ. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(49), 147-164.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01