การพัฒนาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการด้านการปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
การพัฒนา, ภาวะผู้นำ, พระสังฆาธิการ, การปกครองคณะสงฆ์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปในการพัฒนาภาวะผู้นำ 2. ศึกษากระบวนการในการพัฒนาภาวะผู้นำ และ 3. นำเสนอวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการด้านการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดฉะเชิงเทรา ระเบียบวิธีวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 25 รูปหรือคน และได้จัดทำการสนทนากลุ่มเฉพาะทางกับผู้ทรงคุณวุฒิอีก 9 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการพรรณนาความ
ฃผลการวิจัยพบว่า 1. จุดแข็ง ได้แก่ การบริหารงานและการจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างเป็นระบบและชัดเจน จุดอ่อน ได้แก่ ขาดความพร้อมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ โอกาส ได้แก่ การให้ความสำคัญกับการศึกษาของพระภิกษุ สามเณร และเยาวชน รวมถึงความสนใจของประชาชนในกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา อุปสรรค ได้แก่ การขาดงบประมาณจากภาครัฐสำหรับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา 2. กระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำประกอบด้วย 1. การวางแผนเพื่อสร้างความเป็นไปได้และความสามารถในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา 2. การลงมือปฏิบัติที่มีทิศทางและขั้นตอนชัดเจน 3. การดำเนินงานเป็นทีมและมีช่องทางให้พุทธศาสนิกชนแสดงความคิดเห็น 4. การปรับปรุงกระบวนการเผยแผ่อย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาและรองรับการเผยแผ่หลายรูปแบบ 3. วิธีการพัฒนาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการ พบว่า 1. ด้านการบอกกล่าวควรฝึกฝนการบอกกล่าวในสถานการณ์จริง โดยเริ่มจากเรื่อง เช่น แจ้งข่าวสารหรือชี้แจงแนวทางปฏิบัติ 2. ด้านการนำเสนอความคิดเห็น การศึกษาเรียนรู้หลักการนำเสนอความคิดเห็นจะช่วยให้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการนำเสนอได้ดีขึ้น 3. ด้านการมีส่วนร่วมผู้นำต้องสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมในองค์กร 4. ด้านการมอบหมายงาน ควรจัดสรรงานให้เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของผู้อื่น
References
พระครูอรุณสุตาลังการ (ปรีดา ขนฺติโสภโณ). (2563). ความคิดเห็นของพระสังฆาธิการที่มีต่อการปรองดองเพื่อสังคมสันติสุขในภาคใต้. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(12), 351-362.
พระปลัดวรเมศวร์ นาควโร. (2559). รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการวัดที่ดีในจังหวัดชัยนาท (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหานพพล กนฺตสีโล. การพัฒนาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 2(1), 49-58.
พระมหาวิศิต ธีรว์โส. (2559). การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการปกครองของ พระสังฆาธิการระดับอำเภอ ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 11 (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาอภิชาติ ชยเมธี. (2066). การพัฒนาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในยุค ปัจจุบัน. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์, 4(1), 108-120.
พระมหาอานันต์ เจริญศิริพัชร และจักรี ศรีจารุเมธีญาณ. (2564). พุทธศาสนากับการปกครอง Buddhism and government. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร. วิทยาเขตอีสาน, 2(1), 50-58.
ลักษณา ศิริวรรณ. (2560). กรอบแนวคิดปัจจัยที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานตามคำรับรอง การปฏิบัติราชการจากมุมมองพฤติกรรมองค์การและนโยบายสาธารณะ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(2), 37-52.
สถาพร พฤฑฒิกุล. (2560). การรับรู้และความคาดหวังต่อบทบาทของศูนย์นวัตกรรมการบริหารและผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออก. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 27(3), 214-226.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 30). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์ (2566). การจัดการสู่องค์การแห่งนวัตกรรมการศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(4), 1658-1667.
Vicheth, S. (2019). Guidelines for leadership application for Buddhist temple administration and development in Nakhon Pathom Province. Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University, 6(2), 1-19.