การบริหารจัดการงานช่วยเหลือประชาชนในภาวการณ์ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19ของคณะสงฆ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, งานช่วยเหลือประชาชน, สาธารณะสงเคราะห์, โควิด-19บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพทั่วไป 2. ศึกษากระบวนการ และ 3. นำเสนอวิธีการบริหารจัดการงานช่วยเหลือประชาชนในภาวการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของคณะสงฆ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 25 รูปหรือคน และได้จัดทำการสนทนากลุ่มเฉพาะทางกับผู้ทรงคุณวุฒิอีก 9 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า 1. จุดแข็ง คือได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ใช้สื่อและเทคโนโลยีสมัยใหม่ จุดอ่อน คือขาดความต่อเนื่องและองค์ความรู้ด้านสาธารณสุข โอกาส คือได้รับความเชื่อถือและความร่วมมือจากหลายฝ่าย อุปสรรค คือ การดำเนินงานขาดประสิทธิภาพและต้องปรับตัวตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 2. กระบวนการบริหารจัดการงานช่วยเหลือประชาชนในภาวะโควิด-19 ของคณะสงฆ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่
1. การวางแผน จัดตั้งทีมเฉพาะกิจ กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายชัดเจนพร้อมแผนประชาสัมพันธ์ 2. การลงมือปฏิบัติ จัดตั้งศูนย์ บริการสาธารณสุขเบื้องต้น และประสานความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน 3. การตรวจสอบ ตรวจสอบข้อมูลและความพึงพอใจของประชาชน ดำเนินงานโปร่งใส 4. การดำเนินการให้เหมาะสมรอบคอบด้วยการบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และติดตามผลอย่างเป็นระบบ 3. วิธีการบริหารจัดการงานช่วยเหลือประชาชน ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ 1. การป้องกันการระบาด งดกิจกรรมรวมตัว สวมหน้ากากอนามัย ทำความสะอาดสถานที่ ล้างมือบ่อย ๆ 2. การเฝ้าระวังการแพร่ระบาด ประชาสัมพันธ์มาตรการป้องกัน ให้พระภิกษุสามเณรปฏิบัติตามมาตรการ จัดจุดคัดกรอง งดพิธีกรรมที่มีคนจำนวนมาก 3. การดูแลโภชนาและสุขภาวะบุคลากร จัดหาอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย พักผ่อนเพียงพอ เผยแพร่ข้อมูลโภชนาการ จัดระบบคัดกรองสุขภาพ ส่งเสริมการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด
References
พระเทพปริยัติสุธี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ). (2545). เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่องการคณะสงฆ์และการพระศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระบุญเสริม จิรวฑฺฒนเมธี และคณะ. (2565). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมด้านสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดขอนแก่น. วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์, 7(2), 1317-1326.
พระพิศาลศึกษากร (สุดใจ ยโสธโร). (2559). การบริหารจัดการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาตามหลักธรรมาภิบาล (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการคณะสงฆ์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาพชร กิตฺติวรเมธี. (2565). การพัฒนางานด้านสาธารณสงเคราะห์ตามแผนปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการในจังหวัดสระแก้ว (ดุษฎีนิพนธ์
พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชวัลภาจารย์ (ดาวเรือง อาจารคุโณ). (2564). รูปแบบการสงเคราะห์ประชาชนตามโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์จังหวัดราชบุรี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสมุห์วศิน วิสุทฺโธ (พงษ์ศักดิ์). (2564). พระสงฆ์การจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ : บทบาทและความสำคัญ. วารสารศิลปะศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 2(2),
-460.
มหาเถรสมาคม. (2563). มติมหาเถรสมาคม เรื่อง ตู้พระทำนำสุข เพื่อประชาชน. สืบค้น 7 มีนาคม 2565, จาก https://shorturl.asia/gc1Qe
สำนักงานเลขาธิการมหาเถรสมาคม. (2542). คู่มือพระสังฆาธิการและพระวินยาธิการ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สุทธิพงศ์ ตันตยาพิศาลสุทธิ์. (2543). พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ กฎกระทรวง กฎมหาเถรสมาคม พร้อมด้วยระเบียบและคำสั่งมหาเถรสมาคมเกี่ยวกับการคณะสงฆ์และการศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมการ ศาสนา.
World Health Organization. (2022). Q&A on COVID-19 (general). Retrieved March 7, 2022, from https://shorturl.asia/OmocN