การพัฒนาทุนมนุษย์ของคนประจำเรือในธุรกิจพาณิชยนาวีไทย โดยการประยุกต์หลักไตรสิกขา
คำสำคัญ:
การพัฒนาทุนมนุษย์, คนประจำเรือ, ธุรกิจพาณิชยนาวีไทย, หลักไตรสิกขาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาการพัฒนาทุนมนุษย์ของคนประจำเรือในธุรกิจพาณิชยนาวีไทย 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ของคนประจำเรือในธุรกิจพาณิชยนาวีไทย 3. นำเสนอการพัฒนาทุนมนุษย์ของคนประจำเรือในธุรกิจพาณิชยนาวีไทยโดยการประยุกต์หลักไตรสิกขา โดยงานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ซึ่งประกอบด้วย ประชากร คนประจำเรือ จำนวน 25,000 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 394 คน โดยสุ่มอย่างง่าย และผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์ในธุรกิจพาณิชยนาวี 18 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และการสนทนากลุ่มเฉพาะ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาทุนมนุษย์ของคนประจำเรือในธุรกิจพาณิชยนาวีไทย ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นชาย อายุ 21-30 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา รายได้ 30,001-40,000 บาท และตำแหน่งนายท้ายเรือ กระบวนการพัฒนาทุนมนุษย์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเน้นด้านการศึกษา การฝึกอบรม และการพัฒนาการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเน้นด้านปัญญาสิกขา เสริมสร้างความรู้ ศีลสิกขา พฤติกรรมดี และสมาธิสิกขา มีใจตั้งมั่น การพัฒนาคนประจำเรือ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเน้นด้านความสามารถ ทักษะ ทัศนคติ และความสามารถทางสติปัญญาหรือความกระตือรือร้น 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ของคนประจำเรือในธุรกิจพาณิชยนาวีไทย ด้านกระบวนการพัฒนาทุนมนุษย์ ส่งผลต่อการพัฒนาคนประจำเรือ โดยเฉพาะด้านการฝึกอบรมและการพัฒนาหลักไตรสิกขา ส่งผลต่อการพัฒนาคนประจำเรือ โดยเฉพาะด้านสมาธิและศีล 3. การพัฒนาทุนมนุษย์ของคนประจำเรือในธุรกิจพาณิชยนาวีไทยโดยประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขา ส่งผลให้คนประจำเรือมีคุณลักษณะที่ดีความรับผิดชอบ มุ่งมั่นพัฒนาตนเอง พัฒนาความรู้ ทักษะให้ทันสมัย นำไปสู่การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ ความปลอดภัย มีความก้าวหน้าในอาชีพ ช่วยยกระดับมาตรฐานของธุรกิจพาณิชยนาวีไทย
References
การท่าเรือแห่งประเทศไทย. (2566). สถิติคนประจำเรือ. สืบค้น 23 มกราคม 2566, จาก https://shorturl.asia/SXKgz
ปุณณภา ปริเมธาชัย. (2565). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยกระทรวงวัฒนธรรม (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วีรภัทร สภากาญจน์. (2565). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธเพื่อสร้างความผูกพันต่อองค์กรของธุรกิจหลักทรัพย์ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา
รัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมาน รังสิโยกฤษฎ์. (2544). การบริหารงานบุคคล (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: สำนักงาน ก.พ.
สุรกิจ สุวรรณแกม. (2566). พุทธบูรณาการเพื่อประสิทธิผลของการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2551). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
Likert, R. (1932). A technique for measurement of attitudes. Archives of Psychology, 140, 5-55.
Seamoor, M. & Engineering. (2022). 10 advantages of a career as a sailor. Retrieved December 20, 2023, from https://shorturl.asia/7EKGA