รูปแบบการจัดการตลาดชุมชนคุณธรรมในจังหวัดพิจิตร
คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการ, ตลาดชุมชนคุณธรรม, วัดในจังหวัดพิจิตรบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปและปัญหาอุปสรรคการจัดการตลาดชุมชนคุณธรรมของวัดในจังหวัดพิจิตร 2. ศึกษากระบวนการจัดการตลาดชุมชนคุณธรรมของวัดในจังหวัดพิจิตร 3. นำเสนอรูปแบบการจัดการตลาดชุมชนคุณธรรมของวัดในจังหวัดพิจิตร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 26 รูปหรือคน กับผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงาน จำนวน 9 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสนทนากลุ่มเฉพาะ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาความตามระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการตลาดชุมชนคุณธรรมของวัดในจังหวัดพิจิตรมีจุดแข็ง 4 ด้าน ได้แก่ การส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น การสนับสนุนเกษตรกร การส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาอาชีพ และการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ขณะเดียวกันมีจุดอ่อน 4 ด้าน ได้แก่ การบริหารจัดการที่ไม่มีรูปแบบชัดเจน การแก้ปัญหาที่ไม่มีประสิทธิภาพ
ขาดการส่งเสริมและพัฒนา และขาดการอบรมให้ความรู้ โอกาส 4 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน การส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน การส่งเสริมการท่องเที่ยว และการใช้สื่อเทคโนโลยีในการบริหารจัดการ อุปสรรค 4 ด้าน ได้แก่ ขาดแผนการปฏิบัติการ ขาดการสนับสนุน ขาดการอบรม และขาดความร่วมมือ 2. กระบวนการจัดการตลาดประกอบด้วยการวางแผนอย่างเป็นระบบ การดำเนินงาน การตรวจสอบ และการปรับปรุง เน้นการวิเคราะห์สถานการณ์และความต้องการของชุมชน การตั้งคณะทำงาน และการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงการเตรียมพื้นที่ ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมการประชาสัมพันธ์ และการจัดกิจกรรม 3. รูปแบบการจัดการตามหลักทุติยปาปณิกสูตร ได้แก่ จักขุมา วิธูโร และนิสสยสัมปันโน เน้นการสร้างวิสัยทัศน์ การวางแผนกลยุทธ์การส่งเสริมทักษะและความรู้ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และการสร้างความร่วมมือในชุมชน เน้นความซื่อสัตย์ ความสุจริต จิตอาสา และความสามัคคี
References
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2561). การดำเนินงานชุมชนคุณธรรมขับเคลื่อนด้วยพลังบวร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรไทย.
_____. (2566). เอกสารชุดความรู้การขับเคลื่อนจังหวัดคุณธรรมนำร่อง (พิจิตร บุรีรัมย์ ราชบุรี พัทลุง). สืบค้น 20 กันยายน 2566, จาก www.moralcenter.or.th
พระครูใบฎีกาวิชาญ วิสุทโธ และภักดี โพธิ์สิงห์. (2565). การขับเคลื่อนตลาดนัดชุมชนสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 13(2), 1-14.
พระครูพิสุทธิปัญญาภิวัฒน์ (นพณัช กิตฺติปญฺโญ). (2564). รูปแบบการบริหารจัดการจังหวัดคุณธรรมต้นแบบของจังหวัดพิจิตร (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2541). กฐินสู่ธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหธรรมิกจำกัด.
พระอนุสรณ์ วชิรวํโส. (2563). ภาวะผู้นำตามหลักทุติยปาปณิกสูตร ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภัครสิริ แอนิหน และคณะ. (2563). การสร้างค่านิยมสุจริตของวัดและชุมชนจังหวัดเพชรบุรี. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 5(3), 178-186.
มนพัทธ์ ปาณิกบุตร. (2562). การพัฒนาคุณธรรมที่พึงประสงค์ : พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสาในการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมการศาสนา (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
รัตนาพร โพธิ์งาม. (2561). กลยุทธ์ทางการตลาดของผู้ประกอบการค้าในตลาดนัดชุมชนวัดไร่ขิง (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ลำยอง ปลั่งกลาง และคณะ. (2553). แนวทางการจัดการทางการตลาดของวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดอ่างทอง (รายงานการวิจัย)พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สุภัค ตรังรัตนจิต. (2565). รูปแบบการพัฒนาจิตอาสาเพื่อเสริมสร้างค่านิยมและคุณลักษณะทางคุณธรรมจริยธรรมของสภานักเรียนโรงเรียนอ้อมน้อยโสภณ
ชนูปถัมภ์. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 9(1), 213-225.