การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • รวิภาส พิตรพิบูลย์พงศ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบูรณาการหลักพุทธธรรม, สมรรถนะการปฏิบัติงาน, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร ดำเนินการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 160 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน พบว่า 1. สมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับคือ ด้านการบริการเป็นเลิศ ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้านความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน และด้านการยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ตามลำดับ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร พบว่า การบริหารจัดการคือ การนำ การวางแผน การควบคุม, และหลักอิทธิบาท 4 คือ จิตตะ วิมังสา วิริยะ ฉันทะ ส่งผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการปฏิบัติงาน มีดังนี้ สมรรถนะการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย การมุ่งผลสัมฤทธิ์ การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน การบริการเป็นเลิศ การทำงานเป็นทีม โดยมีหลักอิทธิบาท 4 เป็นหลักธรรมนำมาบูรณาการเพื่อให้เกิดสมรรถนะการปฏิบัติงาน นอกจากนั้นยังนำการบริหารจัดการ มาเป็นพื้นฐานทั้งเรื่องของการวางแผน การจัดองค์การ การนำ และการควบคุม

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2567). เว็บไซต์ อปท. ในจังหวัดสมุทรสาคร. สืบค้น 28 มกราคม 2567, จาก https://shorturl.asia/507Xe

นิอร ศรีสุนทร. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารผลการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา

การบริหารการศึกษา). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระณธีร์วิชญ์ คมฺภีรปญฺโ. (2559). การพัฒนาสมรรถนะหลักของบุคลากรเทศบาลในยุคโลกาภิวัตน์ตามหลักพุทธธรรม (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรม พุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รินทอง แก้วทุม. (2560). การบริหารการพัฒนาเชิงพุทธขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ. (2559). คู่มือและแนวทางปฏิบัติเพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับระบบจำแนกตำแหน่งของข้าราชการส่วนท้องถิ่นจากระบบซีเป็นระบบแท่ง. สืบค้น 1 มีนาคม 2565, จาก http://www.local.moi.go.th/2009/home/cpt_59.pdf

สมชัย นันทาภิรัตน์. (2565). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการตามพันธกิจของกระทรวงอุตสาหกรรม (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา

รัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

องค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดสมุทรสาคร. (2565). คู่มือการวางแผนความก้าวหน้าในสายอาชีพพนักงานส่วนตำบล. สมุทรสาคร: ฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักปลัดฯ องค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดสมุทรสาคร.

อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า. (2563). โมเดลสมการโครงสร้างประสิทธิผลการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทอง (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-01