การประยุกต์หลักพุทธจริยธรรมผ่านหลักการกุญแจเก้าดอกเพื่อพัฒนา ภาวะผู้นำนักศึกษาระดับปริญญาตรีในกรุงเทพมหานคร ของสถาบันพลังจิต ธรรมะ จักรวาล

ผู้แต่ง

  • รักยิ่ง โรจนเกตุปัญญา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • บุญทัน ดอกไธสง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธจริยธรรม, หลักการกุญแจเก้าดอก, ภาวะผู้นำ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาภาวะผู้นำของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของนักศึกษา และ 3. เสนอการประยุกต์หลักพุทธจริยธรรมผ่านหลักการกุญแจเก้าดอก เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในกรุงเทพมหานคร ของสถาบันพลังจิต ธรรมะ จักรวาล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง
เชิงปริมาณ จำนวน 399 คน และสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 18 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.983 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมาน คือ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในกรุงเทพมหานคร ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในกรุงเทพมหานคร พบว่า กระบวนการพัฒนาผู้นำ หลักปาปณิกธรรม หลักการกุญแจเก้าดอก อยู่ในระดับมาก
ทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และสามารถร่วมกันทำนายภาวะผู้นำของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในกรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 31.9, 22.9, 35.6 ตามลำดับ 3. การประยุกต์หลักพุทธจริยธรรมผ่านหลักการกุญแจเก้าดอก เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในกรุงเทพมหานคร มุ่งเน้นกระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำผสานพุทธจริยธรรมและหลักการกุญแจเก้าดอก โดยเริ่มจากการตระหนักรู้ในตนเอง กำหนดเป้าหมาย ผสานกับหลักธรรม พัฒนาทักษะ การตัดสินใจ ความเชื่อมั่น การสื่อสาร ความคิดสร้างสรรค์และการลดข้อขัดแย้ง ส่งผลให้เกิดผู้นำที่มีคุณธรรมและยั่งยืน

References

กนกวรรณ วิลาวัลย์. (2565). พุทธบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฎิบัติงานของบุคคลากรสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุ (ดุษฏีนิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย.

ชณภา ปุญณนันท์. (2560). การพัฒนาตนผ่านปรัชญากุญแจเก้าดอกของสถาบันพลังจิต ธรรมะ จักรวาล. วารสารวิจัยวิชาการ Journal of Nakhonratchasima college, 15(3), 308-318.

ชัชนิธิฐา ชัชวาลวงศ์. (2566). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของเยาวชนโดยการดำเนินงานของชุมชนในกรุงเทพมหานคร (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นฤมล เพ็ญสิริวรรณ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลในจังหวัดนนทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ทัชชกร แสงทองดี.(2563). รูปแบบการสร้างภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูปลัดวิศิษฐกุล สิริปญฺโญ. (2565). รูปแบบภาวะผู้นำเชิงพุทธบูรณาการของผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดบุรีรัมย์ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา

รัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูพิศาลจริยากร เลขธมฺโม และคณะ. (2562). จริยธรรม: ปัญหาพฤติกรรมและการจัดการในปัจจุบันของสังคมไทย. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 5(2), 131-145.

พระอนุรักษ์ อนุรกฺขิโต. (2566). รูปแบบการพัฒนาการฝึกอบรมผู้นำเยาวชนต้นแบบด้านคุณธรรมโดยพุทธสันติวิธี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(2), 667-680.

ประยูร เจนตระกูลโรจน์. (2564). การบริหารสู่ความเป็นเลิศโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมของสถานพยาบาลภาครัฐในเขตกรุงเทพมหานคร (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภูริพัฒน์ ถนอมศรีอุทัย. (2565). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องสําอางในประเทศไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วีรชัย อนันต์เธียร. (2557). กลยุทธ์การพัฒนาจริยธรรมสำหรับเยาวชนไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมบัติ นามบุรี. (2562). โมเดลความสัมพันธ์เชิสาเหตุแบบพุทธบูรณาการของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุวรรณ์ แก้วนะ. (2564). การพัฒนาคุณลักษณะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดสมุทรปราการ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา

รัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2560). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: สำนัก นายกรัฐมนตรี.

Ingenoff, D. & Buhmann, A. (2016). Advancing PR measurement and evaluation: Demonstrating the properties and assessment of variance-based structural equation models using an example study on corporate reputation. Public Relations Review, 42(3), 418-431.

Poedloknimit, C. & Klomkul, L. (2020). A Causal Relationship Model of Mental Development and Create Intellectual Prosperity among Ethical Training in Palangjit Dhamma Jakrawan Institution with Nine-Keys Philosophy as a Mediator. Solid State Technology, 63(2s), 1576-1581.

Punnanan. C. (2021). Effects of Dharma Practices on Psychological Well-Being of the participants Mental Development and Create Intellectual Program of the Palangjit Dharma Jakrawan Institute (PDJ) Applying the principles of the Nine Keys Philosophy. Psychology and Education Journal, 58(1), 5503-5509.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-01