การพัฒนาคุณภาพชีวิตการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาล ในจังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การพัฒนาคุณภาพชีวิต, การปฏิบัติงาน, ภาวนา 4บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการตาม ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคนแบบตัวต่อตัว โดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่ม เฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อให้ได้ผลจากการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มเฉพาะ
ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดเชียงใหม่ ด้านการทำงาน การเสริมสร้างสุขภาพทางกายและจิต การพัฒนาทักษะและการศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งกายภาวนา ช่วยสร้างสมดุลในชีวิตส่วนตัวและการทำงานเพิ่มความร่วมมือและความสัมพันธ์ที่ดีในทีม ด้านส่วนตัว การสนับสนุนการพักผ่อนและการฟื้นฟูสมรรถภาพ สมดุลในการงานและชีวิต ซึ่ง ปัญญาภาวนา เสริมสร้างความเข้มแข็งทางความคิดริเริ่มสร้างสรรค์งาน เพิ่มความสามารถในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้านสังคมการสนับสนุนในการทำงานเป็นทีม การสนับสนุนในการพัฒนาสมรรถภาพส่วนตัวและอาชีพ ซึ่ง ศีลภาวนา ช่วยสร้างวินัย และความรับผิดชอบ เกิดความเข้าใจและความเอื้อเฟื้อ ด้านเศรษฐกิจ การเพิ่มรายได้และเงินเดือน โอกาสในการพัฒนาอาชีพ การส่งเสริมธุรกิจและการงานอิสระ และการสนับสนุนในการออมและการลงทุนซึ่ง จิตตภาวนา สนับสนุนให้มี Work - life Balance ฝึกสมาธิ ฟังเทศน์ ทำบุญ ให้เวลากับครอบครัว พักผ่อน
References
กรมพัฒนาชุมชน. (2558). การพัฒนาหมู่บ้านอีสานเขียวแบบผสมผสานสนับสนุนโครงการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามโครงการน้ำพระทัยจากในหลวง. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาชุมชน.
คำภีร์ ศรีหาจักร. (2560). วัฒนธรรมองค์กรและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของบุคลากรทางการศึกษาในมหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. สกลนคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
ชัชวาลย์ ทัตศิวัช. (2553). คุณภาพชีวิตการทำงาน: องค์ประกอบหลักของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อความยั่งยืนขององค์กร. วารสารรัฐสภาสาร, 58(3), 71-121.
ปรียมาศ ภูยอดตา. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวติการทำงานของบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น (วิทยาพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ). กรุงเทพฯ: มหาวิทนาลัยรามคำแหง.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2533). บทบาทของพระสงฆ์ในสังคมไทยปัจจุบัน : พุทธศาสนากับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: รุ่งแสงการพิมพ์.
พิศโสภา ทีฆาวงค์. (2560). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานส่วนตำบลในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ภูรีภัทร ห้วยหงษ์ทอง. (2562). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รัตนาภรณ์ บุญมี. (2558). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานเทศบาลตำบลนาดี. สืบค้น 17 ตุลาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/slmdr
วรรรภา พิมเสน. (2558). อิทธิพลของคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานในธุรกิจอู่ซ่อมรถยนต์จังหวัดนครพนม (วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ). สกลนคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิฑูรย์ เส็งเฮ้า (2550). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารท้องถิ่น). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์กรมหาชน). (2562). คุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Working life). สืบค้น 2 มีนาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/1gENi
อนันต์ แม่กอง. (2558). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). สาขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.