การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง แบบมีส่วนร่วมของประชาชนในจังหวัดอุทัยธานี

ผู้แต่ง

  • พรชัย สารสุวรรณ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุมาลี บุญเรือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เติมศักดิ์ ทองอินทร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมทางการเมือง, การมีส่วนร่วม, การประยุกต์หลักพุทธธรรม, หลักอปริหานิยธรรม 7

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในจังหวัดอุทัยธานี 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในจังหวัดอุทัยธานี และ 3. ศึกษาการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในจังหวัดอุทัยธานี
โดยประยุกต์หลักอปริหานิยธรรม 7 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะ และการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า 1. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในจังหวัดอุทัยธานี มีทั้งหมด 8 ด้าน 1. การมีความเชื่อมั่นศรัทธาต่อหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย 2. ด้านการเชื่อมั่นและเชื่อถือในหลักความสำคัญและศักดิ์ศรีของบุคคลที่เป็นผู้นำ 3. ด้านการเคารพกติกาของการปกครองระบอบประชาธิปไตย 4. ด้านการมีส่วนร่วมกิจกรรมทางการเมือง 5. ด้านความมีสำนึกในหน้าที่พลเมืองของตน 6. ด้านความไว้วางใจนักการเมืองและให้ความร่วมมือที่จะมีส่วนร่วมทางการเมือง 7. ด้านสามารถวิจารณ์การเมืองได้ในทางสร้างสรรค์ 8. ด้านไม่มีจิตใจแบบเผด็จการ 2. ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนจังหวัดอุทัยธานี คือ ด้านความเชื่อ และด้านพฤติกรรม มีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.01 แสดงว่าปัจจัยการมีส่วนร่วมของประชาชนสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 37.3 และ 3. การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม คือ ด้านความเคารพต่อประธานและความคิดเห็นของสมาชิกในที่ประชุม ด้านความพร้อมเพียงกันประชุม ด้านการหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ แสดงว่า หลักอปริหานิยธรรม 7 สามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 78.8 

References

กำพล ศรีโท. (2566). รูปแบบการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนจังหวัดนนทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลกรณราชวิทยาลัย.

พัททดล เสวตวรรณ. (2565). การพัฒนาทางการเมืองที่มีผลต่อการบริหารงานขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุทัยธานี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลกรณราชวิทยาลัย.

ไพรวรรณ ปุริมาตร. (2563). พลวัตทางการเมืองกับการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักการเมืองท้องถิ่น (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลกรณราชวิทยาลัย.

ศุภมา จิตต์เที่ยง. (2566). กระบวนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางเมืองของประชาชนที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยของพรรคการเมืองในกรุงเทพมหานคร (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สถาบันพระปกเกล้า. (2550). วัฒนธรรมการเมือง จริยธรรมและการปกครอง. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

สาลินี รักกตัญญู. (2564). การส่งเสริมบทบาทของนักการเมืองสตรีท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างการบริหาร จัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน

(ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำหวัดอุทัยธานี. (2563). การบริหารข้อมูล สถิติการเลือกตั้ง. สืบค้น 22 พฤศจิกายน 2566, จาก https://shorturl.asia/sdwAt

อานันท์ ปันยารชุน. (2551). ประชาธิปไตยที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ศูนย์สาธารณประโยชน์ และประชาสังคมสถาบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-11