การบริหารจัดการการศึกษาสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • พระจุฑาวัฒน์ ถาวโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประเสริฐ ธิลาว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระสุธีวีรบัณฑิต (โชว์ ทสฺสนีโย) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, การศึกษาสงเคราะห์, พระสังฆาธิการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับความคิดเห็นของพระสังฆาธิการ 2. เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของพระสังฆาธิการ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะที่มีต่อการบริหารจัดการการศึกษาสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการ เป็นการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 80 รูป เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 4 กลุ่ม จำนวน
8 รูป และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิควิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความคิดเห็นของพระสังฆาธิการพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงตามลำดับมากไปหาน้อย 2. ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า พระสังฆาธิการที่มีตำแหน่งพระสังฆาธิการ มีพรรษา มีวุฒิการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการการศึกษาสงเคราะห์ ภาพรวมไม่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย 3. ปัญหา อุปสรรคในการบริหารจัดการการศึกษาสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการในอำเภอแกลง จังหวัดระยอง ได้แก่ ขาดแคลนผู้สอนที่เชี่ยวชาญและกำลังคน งบประมาณจำกัด มีข้อจำกัดในการเข้าถึงวัสดุการศึกษาและเทคโนโลยีที่สำคัญ และการทำงานระหว่างบุคลากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่ราบรื่น ข้อเสนอแนะ ควรจัดโครงการฝึกอบรมครูให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในการสอนพุทธศาสนา และสนับสนุนวัสดุการศึกษาที่เหมาะสม เพิ่มแหล่งที่มาของงบประมาณ เช่น การสร้างรายได้เสริม หรือเปิดโอกาสให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และบุคคลที่สนใจได้ร่วมบริจาค ทำระบบการจัดการที่ชัดเจน โปร่งใส การจัดระบบการประสานงานระหว่างพระสังฆาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น

References

กองแผนงาน กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยพระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบและคำสั่งของคณะสงฆ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

คณาจารย์มหาวิทยาลัย. (2551). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธนชุดา ตันตรานุกูล. (2565). การบริหารสถานศึกษาตามหลักอปริหานิยธรรมสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูชลธารโสภิต (สายชล จิตฺตคุตฺโต). (2565). การบริหารจัดการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จังหวัดปราจีนบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูปัญญาภิยุต (ประจวบ ปญฺญาทีโป). (2558). ประสิทธิภาพของพระสอนวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนจังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูพิบูลรัตนากร (สมศักดิ์ ฐานธมฺโม) และคณะ. (2565). มาตรการทางกฎหมายการเป็นเจ้าพนักงานของเจ้าอาวาสตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 กับเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 10(1), 11-24.

พระครูสุนทรวัชรกิจ (บุญธรรม ฤทธิ์กล้า). (2558). บทบาทพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ จังหวัดเพชรบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพงษ์เล็ก ธมฺมทินฺโน และพระสัญชัย ญาณวีโร. (2561). แนวทางการส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ จังหวัดบึงกาฬ. วารสารธาตุพนมปริทรรศน์, 2(2), 109-119.

พระไพศาล สุทฺธจิตฺโต. (2558). การบริหารงานโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา จังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวิชาญ สุวิชาโน. (2564). การจัดการศึกษาของโรงเรียนวิถีพุทธในศตวรรษที่ 21. วารสารเสียงธรรมจากมหายาน, 7(2), 33-42.

พระสมุห์วศิน วิสุทฺโธ (พงษ์ศักดิ์). (2563). พระสงฆ์การจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ : บทบาทและความสำคัญ. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 2(1),

-366.

ภาณุพงศ์ สุดพังยาง และคณะ. (2566). บทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาท้องถิ่นด้านการศึกษาและวัฒนธรรม กรณีศึกษาพระครูสุนทรปัญญาวิมล. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 1(1), 31-44.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-01