การพัฒนาศักยภาพพระวิปัสสนาจารย์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • พระสมุห์สุรินทร์ รตนโชโต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูสุตวุฒิคุณบัณฑิต (สุนันท์ สุนนฺโท) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาศักยภาพ, พระวิปัสสนาจารย์, การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี 2. ศึกษาองค์ประกอบการพัฒนาศักยภาพพระสังฆาธิการเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาจังหวัดราชบุรี 3. นำเสนอการพัฒนาศักยภาพของพระวิปัสสนาจารย์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี เป็นวิธีวิจัยเป็นแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ พระสังฆาธิการ เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด หัวหน้าหน่วยงานราชการ กลุ่มผู้นำชุมชนหมู่บ้าน และกลุ่มนักวิชาการทางการจัดการเชิงพุทธ  จำนวน 25 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 10 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสนทนากลุ่มเฉพาะ เก็บข้อมูลและวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา สรุปเป็นความเรียง

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปเกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี 1. ด้านสถานที่ สถานที่มีความสะอาด มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม 2. ด้านบุคลากร มีเครือข่ายและการเข้าฝึกอบรมในสำนักปฏิบัติธรรมอื่น 3. ด้านการบริหารจัดการ มีการจัดการด้านอาคารสถานลานธรรมและห้องพักรับรอง การจัดการด้านสาธารณูปการ 2. แนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี พบว่า 1. ด้านการฝึกอบรม มีการสอนและฝึกอบรมผู้เข้าปฏิบัติธรรมโดยพระวิปัสสนาจารย์ 2. ด้านการศึกษาเรียนรู้ มีการส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ของพระวิปัสสนาจารย์ 3. ด้านการพัฒนาบุคลากร พัฒนาทักษะและความรู้ของบุคลากร 3. การพัฒนาศักยภาพพระวิปัสสนาจารย์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี พบว่า 1. ด้านเทคนิควิธี มีการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมโดยการใช้เทคนิคการบริหารจัดการที่เหมาะสม การตัดสินใจ การสร้างระเบียบวินัย และการวิเคราะห์ข้อมูลให้รอบคอบก่อนการตัดสินใจ 2. ด้านมนุษยสัมพันธ์ มีการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในองค์การ 3. ด้านความคิดรวบยอด มีการสร้างความคิดรวบยอดมีการวางแผน กำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ชัดเจน

References

กรมการศาสนา. (2543). คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยพระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบ และคำสั่งของคณะสงฆ์. กรุงเทพฯ: กองแผนงาน กรมการศาสนา.

กองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2554). สำนักปฏิบัติธรรมดีเด่น 45 สำนัก พุทธศักราช 2554. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

พระครูนนทกิจโกศล (สิริชัย สิริชโย). (2563). รูปแบบการจัดการความรู้ของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนนทบุรี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(4), 429-438.

พระครูสังฆรักษ์ปัญญาพล ปญฺาพโล. (2562). กลไกการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของพระวินยาธิการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระญาณกร ปุณฺณโก. (2562). การพัฒนาศักยภาพพระวิปัสสนาจารย์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักปฏิบัติธรรมในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 2

(ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปลัดอานนท์ ญาณธมฺโม. (2563). การพัฒนาศักยภาพพระวิปัสสนาจารย์ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 3(1), 14-22.

พระมหากังวาล ธีรธมฺโม (ศรชัย). (2557). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขา

วิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศูนย์ประสานงานสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแห่งประเทศไทย (ศปท.). (2565). สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด. สืบค้น 25 ธันวาคม 2565, จาก http://www.sptcenter.org/สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-01