การส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุแบบองค์รวมของสาธารณสุข จังหวัดสมุทรปราการ โดยการประยุกต์หลักพุทธธรรม

ผู้แต่ง

  • พนิดา บุนะจินดา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • บุญทัน ดอกไธสง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สุขภาวะผู้สูงอายุแบบองค์รวม, สาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ, หลักภาวนา 4

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เศึกษาสุขภาวะผู้สูงอายุแบบองค์รวมภายใต้การกำกับดูแลของสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาวะผู้สูงอายุแบบองค์รวมในจังหวัดสมุทรปราการ 3. นำเสนอการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุแบบองค์รวมภายใต้การกำกับดูแลของสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ โดยการประยุกต์หลักพุทธธรรม ดำเนินการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ในจังหวัดสมุทรปราการ 110,165 คน และสุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 399 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. สุขภาวะผู้สูงอายุแบบองค์รวม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับคือ สุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางจิต สุขภาวะทางสังคม และสุขภาวะทางสติปัญญา 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาวะผู้สูงอายุแบบองค์รวม พบว่า การบริหารจัดการ ประกอบด้วย วัสดุสิ่งของ เงิน คน และการจัดการ, หลักภาวนา 4 ประกอบด้วย ปัญญาภาวนา ศีลภาวนา กายภาวนา และจิตภาวนา ส่งผลต่อการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุแบบองค์รวมของสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. การส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุแบบองค์รวมภายใต้การกำกับดูแลของสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ โดยการประยุกต์หลักพุทธธรรม ได้แก่ การพัฒนากาย ก่อให้เกิดสุขภาวะทางกาย การพัฒนาจิต ก่อให้เกิดสุขภาวะทางจิต การพัฒนาศีล ทำให้เกิดสุขภาวะทางสังคม และการพัฒนาปัญญา ทำให้เกิดสุขภาวะทางสติปัญญา โดยมีการบริหารจัดการเป็นพื้นฐานในการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุแบบองค์รวมของสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการทั้งเรื่อง คนหรือบุคลากร งบประมาณ วัสดุสิ่งของ และการจัดการ

References

จังหวัดสมุทรปราการ. (2567). รายงานข้อมูลจังหวัดสมุทรปราการ. สืบค้น 28 มกราคม, จาก https://shorturl.asia/DUi6x

ทัศมาวดี ฉากภาพ. (2564). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติสุขภาพแหงชาติ พ.ศ. 2550. (2550, 3 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 16 ก หน้า 2.

วรากร เกรียงไกรศักดา. (2560). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานของชุมชนในการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 22(1), 81-97.

วิไลวรรณ อิศรเดช. (2564). การเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุของสังคมเมืองผ่านระบบสื่อสารออนไลน์. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(2),

-360.

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสมุทรปราการ. (2567). จ.สมุทรปราการ และใส่ใจดูแลผู้สูงอายุในบ้าน ตามแนวคิด 4 สมาร์ท. สืบค้น 28 มกราคม 2567, จาก https://shorturl.asia/AyCcs

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ. (2565). แผนปฏิบัติการสาธารณสุข (Action Plan) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ. สมุทรปราการ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-01