การบริหารจัดการอัจฉริยะของส่วนราชการในจังหวัดสมุทรปราการ โดยบูรณาการตามหลักอิทธิบาทธรรม

ผู้แต่ง

  • ธนัท ติระพรชัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • บุญทัน ดอกไธสง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการอัจฉริยะ, การบูรณาการ, หลักอิทธิบาทธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาการบริหารจัดการอัจฉริยะของส่วนราชการในจังหวัดสมุทรปราการ 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการอัจฉริยะของส่วนราชการในจังหวัดสมุทรปราการ 3. นำเสนอการบริหารจัดการอัจฉริยะของส่วนราชการในจังหวัดสมุทรปราการโดยบูรณาการตามหลักอิทธิบาทธรรม เป็นการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 338 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิจัยเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาคาความถี่ ค่าร้อยละ และการถดถอยพหุคูณ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการอัจฉริยะของส่วนราชการ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การให้บริการอย่างต่อเนื่อง ก้าวหน้า เท่าเทียมกัน รวดเร็วและทันเวลา และเพียงพอ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการอัจฉริยะของส่วนราชการ พบว่า กระบวนการบริหาร มี 3 ด้าน คือ การปฏิบัติตามแผน การตรวจสอบ การปรับปรุงแก้ไข หลักอิทธิบาท 4 คือ วิริยะ วิมังสา ฉันทะ และจิตตะ ส่งผลต่อการบริหารจัดการอัจฉริยะของส่วนราชการในจังหวัดสมุทรปราการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. การบริหารจัดการอัจฉริยะของส่วนราชการในจังหวัดสมุทรปราการโดยบูรณาการหลักอิทธิบาทธรรม พบว่า การบริหารจัดการอัจฉริยะของส่วนราชการในจังหวัดสมุทรปราการ มีการนำหลักอิทธิบาท 4 เข้ามาบูรณาการร่วมกัน คือ ฉันทะ : รักงาน วิริยะ : สู้งาน จิตตะ : ใส่ใจงาน และวิมังสา: ทำงานด้วยปัญญา มีกระบวนการบริหารเป็นพื้นฐานในการบริหารจัดการอัจฉริยะของส่วนราชการในจังหวัดสมุทรปราการทั้งการวางแผน การปฏิบัติตามแผน การตรวจสอบ และการปรับปรุงแก้ไข

References

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดสมุทรปราการ. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดสมุทรปราการ 5 ปี (พ.ศ. 2566–2570). สมุทรปราการ: สำนักงานจังหวัดสมุทรปราการ.

จังหวัดสมุทรปราการ. (2567). ส่วนราชการและหน่วยงานภายในจังหวัดสมุทรปราการ. สืบค้น 28 มกราคม, จาก https://www.samutprakan.go.th/

ณัฏฐ์ รุ่งวงษ์. (2564). การบริหารจัดการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามหลักธรรมาภิบาลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ณัฐพร มูลมาตย์. (2566). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนากีฬาอาชีพของการกีฬาแห่งประเทศไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา

รัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นิอร ศรีสุนทร. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารผลการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา

การบริหารการศึกษา). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรม พุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เสนาะ ติเยาว์. (2551). หลักการบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Depa. (2023). Smart Governance in Thailand. Retrieved March 20, 2023, from https://shorturl.asia/Mdh7I

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-01