การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของกรมชลประทาน

ผู้แต่ง

  • ยศ ธนารักษ์โชค มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พงศ์พัฒน์ จิตตานุรักษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • รัฐพล เย็นใจมา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบูรณาการ, หลักพุทธธรรม, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, กรมชลประทาน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกรมชลประทาน 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และหลักภาวนา 4 กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกรมชลประทาน 3. นำเสนอแนวทางการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกรมชลประทาน ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษาประชากรจำนวน 394 คน ด้วยแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ที่ความเชื่อมั่น 0.982 สถิติใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับหลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. หลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกรมชลประทาน ภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01ในระดับปานกลาง (R=.713**) จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. แนวทางการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกรมชลประทาน มีแนวทางดังนี้
ด้านกายภาวนา ส่งเสริมสุขภาวะทางกาย ด้านศีลภาวนา ควบคุมดูแลบุคลากรให้ปฏิบัติตามหลักจริยธรรม ด้านจิตภาวนา ฝึกอบรมเรื่องการมีสติในการทำงานให้กับบุคลากร ด้านปัญญาภาวนา ส่งเสริมบุคลากรให้รู้จักใช้ทักษะทางปัญญาในการแก้ไขปัญหา

References

กรมชลประทาน. (2563). รายงานประจำปี 2561. สืบค้น 2 มิถุนายน 2565, จาก https://shorturl.asia/LoPxE

กีรติ กมลประเทืองกร. (2558). รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงบูรณาการของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จักรวาล สุขไมตรี. (2558). รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวพุทธจริยธรรมระดับอุดมศึกษา (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ณิชกานต์ บรรพต. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวปฏิบัติที่ดีของการบริหารผลการปฏิบัติงานของกรมชลประทาน. วารสารการเมืองการปกครอง, 8(1), 95-117.

พระครูโกศลวชิรกิจ (โกศล วีตโรโค). (2558). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกำแพงเพชร (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระบุญจันทร์ แก้วบุญยงค์. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวตามหลักไตรสิกขา. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2564). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาศุภกิจ สุภกิจฺโจ. (2558). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สายัญห์ ตาดี. (2561). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา 4 ของเทศบาลตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 1(2), 25-31.

สุวรีย์ สิริโภคาภิรมณ์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา. ลพบุรี: ฝ่ายเอกสารการพิมพ์สถาบันราชภัฏเทพสตรี.

พระครูวีรญาณสุนทร (จรินทร อาบคำ). (2554). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขา : กรณีศึกษาวัดตากฟ้า อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุษกร วัฒนบุตร. (2555). การนำพุทธญาณวิทยา (ไตรสิกขา) และตัวแบบ KSM เพื่อสร้างและพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กรมหาชน. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 38(2), 71-81.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-01