การสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองที่มีผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไปของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • สุหัทยา สินชัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เติมศักดิ์ ทองอินทร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การสื่อสารทางการเมือง, นักการเมือง, การไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไป

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับการไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไปของประชาชน 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไปของประชาชน 3. การสื่อสารทางการเมืองที่มีผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไปของประชาชน โดยการประยุกต์หลักพุทธธรรม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 รูปหรือคน ได้แก่ นักวิชาการ 2 คน นักปกครอง 1 คน นักการเมือง 3 คน และผู้นำชุมชน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการไปใช้สิทธิเลือกตังทั่วไปของประชาชนใน
โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไปของประชาชน คือ ด้านผู้ส่งสาร ด้านผู้รับสาร และหลักสังคหวัตถุ 4 คือ ด้านทาน และด้านปิยวาจา 3. การสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองที่มีผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไปของประชาชน โดยการประยุกต์หลักสังคหวัตถุ 4 ได้แก่ 1. ด้านทาน คือ การให้ความรู้เพื่อให้ผู้รับสารนั้นได้ประโยชน์ 2. ด้านปิยวาจา คือ การใช้วาจาในการสื่อสารที่เป็นประโยชน์ 3. ด้านอัตถจริยา คือ ต้องมีความจริงใจช่วยเหลือ และ 4. ด้านสมานัตตา คือ การวางตนสม่ำเสมอ

References

กรีฑา คงพยัคฆ์ และคณะ. (2563). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุธรรมในการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลจันดี อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(1), 29-41.

ทัศนีย์ เจนวิถีสุข. (2554). การสื่อสารเชิงพุทธกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. (2562). ข้อมูลผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี พ.ศ. 2562. ชลบุรี: ที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี.

นันทนา นันทวโรภาส. (2548). การสื่อสารทางการเมือง : ศึกษากรณีการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งทั่วไปของพรรคไทยรักไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

_____. (2548). สื่อสารการเมือง : ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แมสมีเดีย.

พระครูธรรมธรบุญเที่ยง พุทธสาวโก. (2564). การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับการสื่อสารทางการเมืองเพื่อเสริมสร้างความสมานฉันท์ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาณรงค์ ธมฺมเมธี. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการเลือกตั้งทั่วไปของชุมชนท่าเตียน กรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาพิพัฒพงศ์ ิตธมฺโม. (2564). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการสื่อสารของนักการเมืองไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุนทร ธมฺมวโร. (2560). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในชุมชนวัดหนองสนม จังหวัดระยอง (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัชฎากร เอี่ยมอำไพ. (2564). รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งทั่วไป (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุทธิพงศ์ ปานเพ็ชร์. (2550). การประยุกต์หลักพุทธธรรมกับวิถีชุมชน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2545). การสื่อสารกับการเมือง. กรุงเทพฯ: ประสิทธิ์ภัณฑ์แอนด์ พริ้นติ้ง.

สุรพล สุยะพรหม และสุทธิรัก ศรีจันทร์เพ็ญ. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยทางการจัดการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุรพล สุยะพรหม. (2562). การสื่อสารทางการเมืองของพระเทพปฏิภาณวาที (เจ้าคุณพิพิธ) : ศึกษาในช่วงเวลา พ.ศ. 2540-2560 (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

เสถียร เชยประทับ. (2540). การสื่อสารกับการเมืองเน้นสังคมประชาธิปไตย (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-01