การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
การประยุกต์, หลักพุทธธรรม, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, องค์การบริหาร ส่วนจังหวัด, หลักอิทธิบาท 4บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี 2. ศึกษาความความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิทธิบาท 4 กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี 3. ศึกษาแนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ประชาการ คือ บุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยสูตรทาโร ยามาเน่ 230 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 5 ระดับ ความเชื่อมั่น 0.936 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย คือผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี และนักวิชาการ รวม 9 รูปหรือคน เลือกโดยเจาะจง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. หลักอิทธิบาท 4 กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง (R=.685**) จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วย 1 อิทธิบาท 4 ได้แก่ 1. ด้านฉันทะ บุคลากรเต็มใจปฏิบัติหน้าที่ 2. ด้านวิริยะ บุคลากรมีขยันในการจัดการงานต่าง ๆ 3. ด้านจิตตะ บุคลากรมีความตั้งใจในการปฏิบัติหน้าที่ 4. ด้านวิมังสา บุคลากรตรวจสอบกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง 2. ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร พบว่า 1. ด้านการให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน มีการให้บริการเท่าเทียมกันปราศจากอคติ 2. ด้านการให้บริการอย่างรวดเร็ว บุคลากรสามารถให้บริการได้อย่างเร็วเร็วแม่นยำ 3. ด้านการให้บริการทันเวลา บุคลากรสามารถให้บริการได้ทันเวลา 4. ด้านการให้บริการอย่างต่อเนื่อง บุคลากรสามารถให้บริการแบบ One-Stop Service 5. ด้านการให้บริการอย่างก้าวหน้า บุคลากรมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการให้บริการ
References
จิตติมา พักเพียง. (2558). รูปแบบการบริหารงานตามหลักพุทธธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในเขตภาคกลางตอนล่าง (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เจริญชัย กุลวัฒนาพร. (2563). รูปแบบการจัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรปราการ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ณัฐศรัณย์ ชุมวรฐายี. (2560). การพัฒนาสมรรถนะของนักบริหารและพัฒนาเมืองตามความต้องการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณีจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(1), 50-63.
พระพงษ์ศักดิ์ สนฺตมโน. (2564). พุทธธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดสระแก้ว (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาวิเศษ กนฺตธมฺโม. (2564). พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานของเทศบาลเมืองในจังหวัดชลบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540. (2540, 31 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 114 ตอนที่ 62 ก. หน้า 12.
พระศิวากร เตชปญฺโญ. (2562). ประสิทธิภาพการบริหารงานด้านป้องกันภัยของเทศบาลตำบลดีลัง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พัทธนัญพร พิพิธวรโภคิน. (2563). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มผลิตภาพในการปฏิบัติราชการของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี
(ดุษฎีปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
มนตรี พรมวัน. (2563). รูปแบบประสิทธิผลการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในจังหวัดเชียงใหม่ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 11. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เวียน โพตะกาว. (2558). การทำบทบาทของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด กรณีศึกษา : องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาศาสตร์ชีวภาพและสิ่งแวดล้อม, 16(1), 95-105.
สุวรีย์ สิริโภคาภิรมณ์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา. ลพบุรี: ฝ่ายเอกสารการพิมพ์สถาบันราชภัฏเทพสตรี.
เสกสรร ตันติวนิช. (2562). แนวคิด กระบวนการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและแนวโน้มการปกครองส่วนท้องถิ่นในอนาคต. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 7(1), 80-85.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี. (2563). บุคลกากร. สืบค้น 10 ธันวาคม 2563 จาก Http://Nont-Pro.Go.Th/Public/Board/Data/Index/Menu/86
Richard, E. B. (2008). Competencies in the 21st century. Journal of Management Development, 27(1), 5-12.