พุทธบูรณาการพัฒนาระบบการนำเข้าเครื่องสำอางจากต่างประเทศเพื่อส่งเสริมการตลาดไทยของผู้ประกอบธุรกิจเครื่องสำอาง
คำสำคัญ:
พุทธบูรณาการ;, การนำเข้าเครื่องสำอาง;, การส่งเสริมการตลาด;, สมาคมผู้ประกอบธุรกิจเครื่องสำอางบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาการส่งเสริมการตลาดไทยของผู้ประกอบธุรกิจเครื่องสำอาง 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมการตลาดไทยของผู้ประกอบธุรกิจเครื่องสำอาง และ 3. นำเสนอพุทธบูรณาการพัฒนาระบบการนำเข้าเครื่องสำอางจากต่างประเทศเพื่อส่งเสริมการตลาดไทยของผู้ประกอบธุรกิจเครื่องสำอาง ดำเนินการวิธีวิจัยแบบผสานวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 300 คน การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันองค์ความรู้หลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า 1. การส่งเสริมการตลาดของฯ ครอบคลุม 4 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.10 ประกอบด้วย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านราคา และด้านผลิตภัณฑ์ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมการตลาดประกอบด้วย กระบวนการนำเข้าเครื่องสำอางจากต่างประเทศ ได้ร้อยละ 45.2 และหลักปาปณิกธรรม โดยเฉพาะด้านวิธูโร การจัดการ ได้ร้อยละ 20.9 3. พุทธบูรณาการพัฒนาระบบการนำเข้าเครื่องสำอางจากต่างประเทศเพื่อส่งเสริมการตลาดไทยของผู้ประกอบธุรกิจเครื่องสำอาง โดยประยุกต์ใช้หลักปาปณิกธรรม ได้แก่ จักขุมา (วิสัยทัศน์) วิธูโร (การจัดการ) และนิสสยสัมปันโน (มนุษยสัมพันธ์) ในกระบวนการนำเข้าเครื่องสำอาง 6 ขั้นตอน จักขุมามุ่งเน้นการพัฒนาวิสัยทัศน์ทางธุรกิจ วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค และคาดการณ์แนวโน้มตลาด วิธูโรเน้นการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การวางแผนถึงการบริหารทรัพยากร ส่วนนิสสยสัมปันโนให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกฝ่าย การบูรณาการหลักทั้ง ๓ ด้านนี้ช่วยพัฒนาการดำเนินงานอย่างรอบด้าน นำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทยในตลาดโลก โดยส่งเสริมให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และถูกต้องตามกฎหมาย ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจเครื่องสำอางไทย
ให้มีความยั่งยืนและแข่งขันได้ในระดับสากล
References
พงศ์นคร โภชากรณ์. (2566). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภูริพัฒน์ ถนอมศรีอุทัย. (2566). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในประเทศไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วันชัย มีศิริ. (2566). นวัตกรรมการใช้เรือไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนของตลาดน้ำในลุ่มน้ำแม่กลอง (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2565). แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทยปี 2565-2567. กรุงเทพมหานคร: ธนาคารกสิกรไทย.
สมชาย สุขะ. (2565). ปัญหากระบวนการนำเข้าเครื่องสำอางจากต่างประเทศของผู้ประกอบการ. วารสารวิจัยทางธุรกิจและการจัดการ, 10(2), 1-12.
สมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย. (2564). รายงานประจำปี 2564. กรุงเทพฯ: สมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2565). คู่มือการนำเข้าเครื่องสำอาง. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. New York: Wiley & Son.