การพัฒนาการจัดการพลังงานสะอาดตามแนวพุทธของมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย

ผู้แต่ง

  • กฤษฎา ไกรสุริยวงศ์ บริษัท ไทย โกลบอล เทคโนโลจี้ส์ จำกัด

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การจัดการพลังงานสะอาด;, มหาวิทยาลัยสงฆ์;, คณะสงฆ์ไทย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาการจัดการพลังงานสะอาดของมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการพลังงานสะอาดของมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย 3. นำเสนอการพัฒนาการจัดการพลังงานสะอาดตามแนวพุทธของมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย ดำเนินการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี
โดยการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 341 รูปหรือคนการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันองค์ความรู้หลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล         

ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการพลังงานสะอาดของมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย พบว่า โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงตามลำดับดังนี้ ด้านการออกแบบและติดตั้งด้านการบำรุงรักษา ด้านการจำหน่ายและใช้ประโยชน์ และด้านการสำรวจและประเมินศักยภาพ ตามลำดับ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการพลังงานสะอาดของมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย ประกอบด้วย 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1. กระบวนการจัดการแบบ PDCA โดยเฉพาะด้านการลงมือปฏิบัติและการปรับปรุง ซึ่งสามารถทำนายผลได้ร้อยละ 33.4 และ 2. หลักอิทธิบาทธรรม โดยเฉพาะด้านวิริยะ วิมังสา และฉันทะ ซึ่งสามารถทำนายผลได้ร้อยละ 18.4 ทั้งสองปัจจัยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ
3. การพัฒนาการจัดการพลังงานสะอาดตามแนวพุทธของมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย มุ่งเน้น 4 ด้านหลัก ได้แก่ การสำรวจและประเมินศักยภาพ การออกแบบและติดตั้ง การบำรุงรักษา และการจำหน่ายและใช้ประโยชน์ โดยประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา) ร่วมกับกระบวนการจัดการแบบ PDCA เพื่อให้การจัดการพลังงานสะอาดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับหลักพุทธศาสนา สถาปัตยกรรมของมหาวิทยาลัย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

References

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.). (2565). รายงานการอนุรักษ์พลังงานของประเทศไทย ปี 2565 (Thailand Energy Efficiency Situation 2022). สืบค้น 20 มกราคม 2565, จาก https://shorturl.asia/RHj9V

กระทรวงพลังงาน. (2565). แผนการบูรณาการพลังงานระยะยาวของไทย (Thailand Integrated Energy Blueprint: TIEB). กรุงเทพฯ: กระทรวงพลังงาน.

ชนะพงษ์ กล้ากสิกิจ. (2562). ประสิทธิผลการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในจังหวัดกำแพงเพชร (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

พระมหาธีรวัฒน์ เสสปุญฺโญ . (2564). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุทัศน์ ติสฺสรวาที. (2565). การจัดการพลังงานในมหาวิทยาลัยสงฆ์: ความท้าทายและโอกาส. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา, 12(2), 45-60.

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2563). อิทธิบาท 4: หลักธรรมแห่งความสำเร็จในการพัฒนาพลังงานสะอาด. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 11(1), 1-15.

วารินทร์ จันทรัตน์. (2565). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสุพรรณบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Mann, M. E. (2021). The New Climate War: The Fight to Take Back Our Planet. New York: Public Affairs.

Stern, N. (2006). The economics of climate change: The Stern review. UK: Cambridge University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-01