ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกและผู้บริหารองค์การบริหาร ส่วนตำบลของประชาชนในอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง
คำสำคัญ:
สิทธิเลือกตั้ง, องค์การบริหารส่วนตำบล, อิทธิบาท 4บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับปัจจัยการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกและผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลของประชาชน 2. เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกและผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลของประชาชน และ 3. ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกและผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลของประชาชนโดยการประยุกต์หลักอิทธิบาทธรรม เป็นการวิจัยผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง 43,810 คน โดยหากลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรการคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 397 คน จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 รูปหรือคน ด้วยการคัดเลือดแบบเจาะจง ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า 1. ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาตำบลและผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลของประชาชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกและผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลของประชาชน พบว่า ประชาชนที่มีการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน ส่งผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที้มีเพศ อายุต่างกัน ส่งผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยรวมไม่แตกต่างกัน และหลักอิทธิบาท 4 มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวก ในระดับปานกลาง 3. การนำหลักอิทธิบาท 4 มาใช้ในการส่งเสริมการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง พบว่า ฉันทะ ทำให้ประชาชนรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองเกิดความเต็มใจไปใช้สิทธิ วิริยะ ประชาชนตั้งใจเลือกคนดี โดยการพิจารณาจากผลงาน จิตตะ ทำให้ประชาชนมุ่งศึกษาศึกษานโยบาย ว่าช่วยท้องถิ่นจริง และวิมังสา ประชาชนมีการตรวจสอบ ติดตาม และทำได้จริง
References
จิรพันธุ์ วิสูตรศักดิ์. (2547). การดำเนินงานตามบทบาทขององค์การบริการส่วนตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมาในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในท้องถิ่น (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
แนวนโยบายแห่งรัฐ เรื่อง รัฐพึงพัฒนาระบบการบริหารราชการแผ่นดินทั้งราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคส่วนท้องถิ่น และงานของรัฐอย่างอื่น ให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 19.
บททั่วไป เรื่อง ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 3.
ปิ่นอนงค์ ทองบ่อ. (2563). การเสริมสร้างความเข้าใจการเมืองการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยของ ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลพระอินทราชา อำเภอ
บางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พรอนงค์ เพ็ชรรัตน์. (2551). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของพนักงานเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระครูศรีธรรมวิเทศ (ประเสริฐ ปญฺโ ภาโส). (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเนาวนนท์ ชยาภินนฺโท. (2563). จิตสำนึกทางการเมืองในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย ของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระบุญเพ็ง สิทธิวงษา. (2562). การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารจัดการท้องถิ่นของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลสีอ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสาร มหาจุฬานาครทรรศน์, 6(5), 2459-2480.
พระมหาเรวัฒน์ อคฺคทาโร. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐตญาโณ). (2543). ธรรมาธิปไตย. กรุงเทพฯ: กองทุนไตรรัตนานุภาพ.
พระสร้อยทอง ปญฺญาวุโธ. (2563). การพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนใน เขตตำบลเมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วัฒนา นนทชิต. (2559). การสื่อสารทางการเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลเมืองท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัด
สุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 6(3),115-120.
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2566). สถิติจำนวนประชากร. สืบค้น 10 มกราคม 2566, จาก https://shorturl.asia/a6jQd
สิน พันธุ์พินิจ. (2547). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สุขุม นวลสกุล. (2528). การเมืองและการปกครองไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
สุบัณฑิต จันทร์สว่าง. (2561). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมความสมานฉันท์ในการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครสวรรค์ (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
องอาจ จัตุกูล. (2552). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนใน เขตเทศบาลตำบลหนองแวงอำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
โอฬาร ถิ่นบางเตียว และนครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2552). การซื้อสิทธิ์ขายเสียง. สืบค้น 20 มกราคม 2565, จาก https://shorturl.asia/0Kced
Turner, B. S. (2000). Contemporary Problems in the Theory of Citizenship Citizenship and Social Theory. London: Sage Publications Ltd.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper& Row.