ภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลศาลาครุ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • พระมหาพจน์ วชิรญาโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • รัฐพล เย็นใจมา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมบัติ นามบุรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, หลักพรหมวิหารธรรม, องค์การบริหารส่วนตำบลศาลาครุ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล 2. ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วน และ 3. ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลศาลาครุ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี เป็นแบบผสานวิธี คือการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม โดยกลุ่มประชากร จำนวน 67 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์ของเพียร์สัน วิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลศาลาครุ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.02 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.64 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารองค์การบริหาร
ส่วนตำบลศาลาครุ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี พบว่า หลักพรหมวิหารธรรม (X) มีความสัมพันธ์ต่อภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลศาลาครุ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี (Y) โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับน้อยมาก (R=185**)

References

ณัฏฐวัฒน์ สุดประเสริฐ. (2555). คุณลักษณะผู้นําทางการเมืองที่พึงประสงค์ในยุคโลกาภิวัตน์ตามแนวทางพระพุทธศาสนาเถรวาท (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ทิพยาพัศ คลังแสง. (2556). การบริหารบุคลากรตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารไวในการบริหารงานตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้อํานวยการสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

พระณัฐพล ฐิติธมฺโม. (2552). การบริหารงานวัดโดยการประยุกต์ใช้พรหมวิหารธรรม 4 ตามความคิดเห็นของพระสงฆ์ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์

พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมโกศาจารย์, (ประยูร ธมฺจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระบุญเรือง ฐิติธมฺโม. (2549). การศึกษาวิเคราะห์หลักภาวะผู้นำในพระพุทธศาสนา : ศึกษาเฉพาะวิธีการแก้ปัญหาของพระพุทธเจ้า (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย.

พระมนัส อคฺคธมฺโม. (2555). ภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 โรงเรียนมัธยมศึกษา เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการคณะสงฆ์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชวชิรเมธี (วีระ วรปญฺโญ ). (2559). รูปแบบภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงฆ์ไทย (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิทยา เอื้องเพ็ชร์. (2554). คุณลักษณะตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สิริพัฒน์ ลาภจิตร. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมีส่วนร่วมของประชาชนในการสนับสนุนการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุเมธ แสงนิ่มนวล. (2552). ภาวะผู้นำกับธรรมาภิบาลในการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

สุวิน สุขสมกิจ. (2523). พุทธปรัชญากับการสร้างเสริมภาวะผู้นํา : กรณีศึกษากํานันผู้ใหญ่บ้านจังหวัดกาญจนบุรี (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

อภิชาติ พานสุวรรณ. (2558). การพัฒนาคุณลักษณะผู้นำชุมชนในเขตเทศบาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดุษฎีนิพนธ์นิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา

รัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-01