การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ของผู้ประกอบการจัดการประชุมและนิทรรศการในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
หลักพุทธธรรม, อุตสาหกรรมไมซ์, ผู้ประกอบการบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ของผู้ประกอบการการจัดประชุมและนิทรรศการในกรุงเทพมหานคร 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ของผู้ประกอบการการจัดประชุมและนิทรรศการในกรุงเทพมหานคร และ 3. นำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ของผู้ประกอบการการจัดประชุมและนิทรรศการในกรุงเทพมหานคร ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไมซ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 298 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 19 รูปหรือคน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ของผู้ประกอบการการจัดประชุมและนิทรรศการในกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ของผู้ประกอบการการจัดประชุมและนิทรรศการในกรุงเทพมหานคร พบว่า 1. หลักการบริหารห่วงโซ่สามารถร่วมกันทำนายการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ของผู้ประกอบการจัดการประชุมและนิทรรศการในกรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 11.1 หลักปาปณิกธรรมสามารถร่วมกันทำนายการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ของผู้ประกอบการจัดการประชุมและนิทรรศการในกรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 4.9 3. การนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ของผู้ประกอบการการจัดประชุมและนิทรรศการในกรุงเทพมหานคร พบว่า การประยุกต์ใช้กับหลักปาปณิกธรรม ประกอบด้วย 1. ด้านจักขุมา มีวิสัยทัศน์ คือ กำหนดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและยั่งยืน มีการวางแผนเชิงกลยุทธ์ระยะยาว 2. ด้านวิธุโร จัดการดี คือ วางแผนและบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ 3. ด้านนิสสยสมฺปนฺโน มีมนุษยสัมพันธ์ คือ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพันธมิตร
References
จุฑา ธาราไชย. (2566). การจัดการประชุมและงานแสดงสินค้าที่ประสบความสำเร็จ. สืบค้น 10 เมษายน 2566, จาก https://shorturl.asia/TrnJd
ชมพูนุท ด้วงจันทร์ และคณะ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารกิจกรรมพื้นฐานของห่วงโซ่คุณค่าและผลการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกรในประเทศไทย. วารสารวิเทศศึกษา, 11(2), 280-306.
ณัฐพัชญ์ เอกสิริชัยกุล. (2556). รูปแบบการจัดการห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจจัดเลี้ยงจังหวัดนครปฐมตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บริษัท ไลคอน จำกัด. (2559). โครงการจัดทำโมเดลไมซ์ เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ (รายงานฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน).
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม.กรุงเทพฯ: บริษัท สหธรรมมิก จำกัด.
พระมหาอาคม อตฺถเมธี และพระมหาจักรพล สิริธโร. (2565). การศึกษาภาวะผู้นำตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดเลย. วารสารวิจัยศรีล้านช้าง, 2(5), 1-11.
ศศิธร อนันตพันธุ์พงศ์. (2564). โมเดลสมการโครงสร้างพุทธภาวะผู้นำเชิงทศบารมีและนโยบายภาครัฐเพื่อผลสำเร็จการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์).พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมบัติ นามบุรี. (2562). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแบบพุทธบูรณาการของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. (2565). แผนพัฒนากรุงเทพ ระยะ 20 ปี ระยะที่ 3 (พ.ศ.256 -2570). กรุงเทพฯ: สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล.
Yamane, T. (1967). Statistic: and introductory analysis. New York: Harper and Row.