การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการบริหารงานของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • พระครูปลัดอนุวัฒน์ ธมฺมทีโป วัดวชิราวุธาราม (ค่ายวชิราวุธ)

คำสำคัญ:

หลักพุทธธรรม, การบริหารงาน, เทศบาลนครนครศรีธรรมราช

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับประสิทธิผลในการบริหารงานของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อประสิทธิผลในการบริหารงาน และ 3. ศึกษาแนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการบริหารงาน การวิจัยนี้ใช้วิธีการผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ คือ บุคลากรในเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จำนวน 120 คน ซึ่งสุ่มอย่างง่ายจากประชากรทั้งหมด 171 คน ด้วยสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ข้อมูลถูกเก็บด้วยแบบสอบถามและวิเคราะห์ด้วยค่าทางสถิติ เช่น ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้บริหารและบุคลากรฝ่ายปฏิบัติการรวม 12 คน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับประสิทธิผลในการบริหารงานของเทศบาล โดยรวมอยู่ในระดับสูง 2. การเปรียบเทียบประสิทธิผลในการบริหารงานแยกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงานมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่เพศและอายุไม่มีความแตกต่าง 3. แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิผล ได้แก่ การบริหารงานตามหลักฉันทะ ด้วยความมุ่งมั่นในการวางแผน หลักวิริยะ ด้วยความเพียรพยายาม หลักจิตตะ โดยเน้นการส่งเสริมบุคลากร และหลักวิมังสา ด้วยความรอบคอบในการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ

References

ขวัญเรือน เถื่อนแถว. (2559). ประสิทธิในการบริหารงานตามหลักธรรรมาภิบาลของค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนานาชาติแสดมฟอร์ด.

ดาวนภา เกตุทอง. (2563). การกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 3(2), 45-57.

ถนัด ไชยพันธ์. (2560). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ประยงค์ พรมมา. (2556). การบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระชวัลวิทย์ อคฺคธมฺโม (2561). การศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของอิทธิบาท 4 เพื่อความสำเร็จ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอธิการโสภณ ปิยธมฺโม (2560). ประสิทธิผลการบริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ตามหลักอิทธิบาท 4 สังกัดสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอำนาจเจริญ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมือง และสังคมที่ดี พ.ศ. 2542, (10 สิงหาคม, 2542). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116 ตอนที่ 63 ง. หน้า 24.

สำนักงานเทศบาลนครศรีธรรมราช. (2566). บุคลากรของเทศบาลนครศรีธรรมราช. สืบค้น 24 ธันวาคม 2566, จาก https://www.nakhoncity.org/admin_borad.php

สิน พันธุ์พินิจ. (2547). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัทจูน พับลิชชิ่งจํากัด.

สุธีนี อัตถากร. (2561). ประสิทธิผลในการบริหารงานของเทศบาลเมืองในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง : การประเมินจากประชาชนผู้รับบริการและสมาชิกในองค์การ (รายงานการวิจัย). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed.). Tokyo: Harper International Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-01