การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างการตัดสินใจไปเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลของประชาชนในจังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
การบูรณาการ, พุทธธรรม, การตัดสินใจ, เลือกตั้ง, สมาชิกสภา, นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 3. บูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างการตัดสินใจไปเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลของประชาชนในจังหวัดลำปาง รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และการสนทนากลุ่มเฉพาะ และการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.995 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 398 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1. การตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดลำปาง ด้านการใช้ความรู้สึกเป็นใช้ความรู้สึกส่วนตัว ด้านการใช้ประสบการณ์เลือกจากผลงานของผู้นำ ด้านการใช้ดุลยพินิจพิจารณาถึงประโยชน์โดยรวม ด้านการใช้ตัวแบบเปรียบเทียบบทเรียนของพื้นที่อื่น ด้านการใช้เชิงปริมาณสำรวจระดับความนิยม 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดลำปาง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจสามารถทำนายได้ร้อยละ 19.6 และหลักอคติ 4 สามารถทำนายได้ร้อยละ 12.6 3. การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างการตัดสินใจไปเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลของประชาชนในจังหวัดลำปาง ฉันทาคติการตัดสินใจด้วยความเป็นธรรม โทสาคติการใช้ความเข้าใจและเหตุผล โมหาคติการพิจารณาจากความถูกต้องและเหมาะสม ภยาคติควรมุ่งเน้นการยึดมั่นในความถูกต้อง
References
กษิดิศ รอดน้อย. (2566). ความทันสมัยทางการเมืองที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ประชา เทศพานิช. (2562). แนวทางการพัฒนาจริยธรรมของผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ดาวเทียมในประเทศไทยเชิงพุทธบูรณาการ (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูเกษมวัชรดิตถ์ (เกษม ฐิติสมฺปนฺโน). (2566). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของ ประชาชนในการเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
โภคิน พลกุล. (2529). ปัญหาและข้อคิดบางเรื่องจากรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
สมเชาว์ ภูพลผัน. (2560). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลโนนสูง อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้งจังหวัดลำปาง. (2566). ข้อมูลประชากร. สืบค้น 2 มกราคม 2566, จาก https://www.ect.go.th/th/lampang/organization
อัจฉรา จันทร์ฉาย และศุลีพร บุญบงการ. (2548). คิดอย่างผู้นำ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แมคกรอฮิล.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.