การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
การประยุกต์, พุทธธรรม, การเลือกตั้งบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับการเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดลำปาง 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดลำปางในจังหวัดลำปาง 3. ศึกษาการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดลำปาง รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และการสนทนากลุ่มเฉพาะ และการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.995 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 398 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดลำปาง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดลำปางในจังหวัดลำปาง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจและหลักอคติ 4 ส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชน เนื่องจากความเข้าใจทางการเมืองมีความเข้าใจด้านสิทธิมีและกฎหมาย
การมีส่วนร่วมทางการเมืองมีความสนใจตามสิทธิของตน ทัศนคติทางการเมืองมีการปลูกฝังค่านิยมทางการเมือง พฤติกรรมทางการเมืองมีการประเมินและตรวจสอบ 3. การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างการตัดสินใจไปเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลของประชาชนในจังหวัดลำปาง ฉันทาคติการตัดสินใจด้วยความเป็นธรรม โทสาคติการใช้ความเข้าใจและเหตุผล โมหาคติการพิจารณาจากความถูกต้องและเหมาะสม ภยาคติควรมุ่งเน้นการยึดมั่นในความถูกต้อง
References
พระมหาสถิต สุทฺธิมโน และคณะ. พฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในจังหวัดขอนแก่น เขตเลือกตั้งที่ 1. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(2), 405-418.
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น. (2545, 11 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอน 107 ก. หน้า 1-17.
รัชฎากร เอี่ยมอําไพ. (2564). รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งทั่วไป (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเชาว์ ภูพลผัน. (2560). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลโนนสูง อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สุทน ทองเล็ก. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนจังหวัดสระแก้วในการเลือกตั้งทั่วไป ปี พ.ศ. 2562 (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อัจฉรา จันทร์ฉาย และศุลีพร บุญบงการ. (2548). คิดอย่างผู้นำ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แมคกรอฮิล.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.