รูปแบบการจัดการสุขภาวะของพระสงฆ์ตามธรรมนูญสุขภาพ พระสงฆ์แห่งชาติในจังหวัดอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • พระครูสังฆรักษ์สมพงษ์ จตฺตมโล วัดเยื้องคงคาราม จังหวัดอ่างทอง

คำสำคัญ:

การจัดการสุขภาวะพระสงฆ์, ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ, จังหวัดอ่างทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปของการจัดการสุขภาวะของพระสงฆ์ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการสุขภาวะของพระสงฆ์ 3. นำเสนอรูปแบบการจัดการสุขภาวะของพระสงฆ์ตามธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ในจังหวัดอ่างทอง โดยใช้วิจัยแบบผสานวิธี เชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากพระสงฆ์ 314 รูป ด้วยแบบสอบถามที่มีความเชื่อมั่น 0.825 วิเคราะห์ด้วยสถิติต่าง ๆ และเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 20 รูปหรือคน ด้วยสัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่มเฉพาะ 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

 ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการสุขภาวะพระสงฆ์ในจังหวัดอ่างทองมีความเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยมีการอบรมและสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน จุดอ่อน คือการขาดความรู้และทักษะด้านการรักษาพยาบาล และการบูรณาการระหว่างหน่วยงานไม่ต่อเนื่อง มีโอกาสพัฒนาระบบสุขภาพพระสงฆ์โดยเน้นความร่วมมือระหว่างภาคส่วน
ต่าง ๆ แต่อุปสรรคอยู่ที่การขาดงบประมาณ บุคลากรที่มีความรู้ และการประสานงานที่ไม่เพียงพอ 2. พระสงฆ์ในจังหวัดอ่างทองมีความคิดเห็นต่อการจัดการสุขภาวะตามธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติในระดับมาก โดยทุกด้านอยู่ในระดับมาก กระบวนการจัดการสุขภาวะไม่ส่งผลต่อการจัดการสุขภาวะของพระสงฆ์ตามธรรมนูญ แต่หลักอิทธิบาทธรรม
ด้านฉันทะ ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (Multiple R = 0.198, R² = 0.039) แสดงว่าหลักอิทธิบาทธรรมสามารถทำนายการจัดการสุขภาวะของพระสงฆ์ได้ร้อยละ 3.9 3. การจัดการสุขภาวะของพระสงฆ์ในจังหวัดอ่างทองตามธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติประกอบด้วย 7 รูปแบบย่อย ได้แก่ 1. การพัฒนาสุขภาวะโดยเน้นองค์ความรู้และการจัดการร่วมกับชุมชน 2. ส่งเสริมกำลังคนด้านสุขภาพและเครือข่ายชุมชน 3. ใช้เทคโนโลยีและช่องทางออนไลน์ในการสื่อสาร 4. นำเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการดูแลสุขภาพ 5. บริหารค่าใช้จ่ายผ่านกองทุนสุขภาพและประสานงบประมาณ 6. ภาวะผู้นำในการจัดตั้งคณะกรรมการดูแลสุขภาพ 7. แนวทางการจัดการโดยประสานงานระหว่างคณะสงฆ์และชุมชนพร้อมบูรณาการหลักธรรม

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2549). สถิติการอาพาธของพระสงฆ์ที่มารับการตรวจรักษา พ.ศ. 2549. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลสงฆ์ งานเวชระเบียนและสถิติ.

คณิศฉัตร์ วุฒิศักดิ์สกุล. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์ในเขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ, 24(1), 71-83.

พระปลัดทัศนพล เขมจาโร. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการสุขภาพของพระสงฆ์ตามธรรมนูญสุขภาพ พระสงฆ์แห่งชาติของพระสังฆาธิการในจังหวัดพิจิตร (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2557). แนวโน้มบทบาทพระสงฆ์กับการเมืองไทยในสองทศวรรษหน้า. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุทธิพจน์ สุทฺธิวจโน. (2557). พฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์ในอำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พีระพล หมีเอี่ยม. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ในเขตอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุข). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและสถาบันวิจัยสังคม. (2555). การประชุมวิชาการมหกรรมการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.). (2560). ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พุทธศักราช 2560. นนทบุรี: บริษัท โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ จำกัด.

สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอ่างทอง. (2565). ข้อมูลวัด จำนวนพระภิกษุ สามเณร ชี และศิษย์วัด จังหวัดอ่างทอง. สืบค้น 11 ธันวาคม 2565 จาก https://shorturl.asiaQMbF4

สุวรีย์ ศิริโภคาภิรมย์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา. ลพบุรี: ฝ่ายเอกสารการพิมพ์สถาบันราชภัฎเทพสตรี.

องปลัดสิทธิศักดิ์ เถี่ยนยา. (2558). การบริหารจัดการประสิทธิภาพการสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์อนัมนิกายในประเทศไทย (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อัญชลี ประคําทอง. (2544). การประเมินผลโครงการดําเนินงานสุขภาพจิตโดยพระสงฆ์. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต.

อุทัย สุดสุข. (2552). สาธารณสุขในพระไตรปิฎก บูรณาการสู่สุขภาพดี ชีวีมีสุข. นนทบุรี: เทพประทานการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-01