การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำในการปกครอง ข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, ตำรวจนครบาล, หลักฆราวาสธรรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาภาวะผู้นำในการปกครองข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำในการปกครองข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล และ 3. นำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำในการปกครองข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยผู้วิจัยได้กำหนดรูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย จำนวน 8 รูปหรือคน และการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการตำรวจนครบาลในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล จำนวน 393 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำในการปกครองข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล ประกอบด้วย ด้านบุกเบิกค้นคว้าหาสิ่งใหม่ ๆ ด้านก้าวให้ทันโลกรอบรู้ควรส่งเสริมให้รู้จักการใช้เครื่องมือที่เหมาะสม ด้านเป็นนักพัฒนาริเริ่มสร้างสรรค์ ด้านเป็นนักต่อสู้ไม่ย่อท้อง ด้านมีบทบาทในการพัฒนาสังคมและเสียสละ ด้านมีความรับผิดชอบ
ในงาน 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำในการปกครองข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล พบว่า ภาวะผู้นำและหลักฆราวาสธรรม ส่งผลต่อภาวะผู้นำในการปกครองข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.01 และ 3. การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำในการปกครองข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล พบว่า หลักฆราวาสธรรม ได้แก่ สัจจะการรักษาคำพูด ทมะ การมุ่งมั่น ยึดมั่นในหลักความถูกต้องและเป็นธรรม ขันติ การรักษาภาวะปกติ มีความอดกลั้น อดทน และ จาคะ การเป็นผู้ให้ การสละละ ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ส่งเสริมภาวะผู้นำในการปกครองข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล
References
กองบัญชาการตำรวจนครบาล. (2565). แผนปฏิบัติราชการกองบัญชาการตำรวจนครบาล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล.
ทรงพล วัธนะชัย. (2554). แนวทางการบริหารงานสถานีตำรวจนครบาลสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 7(2), 63-77.
พรเทพ จันทรกมล. (2561). อิทธิพลของการรับรู้การเมืองในองค์การทักษะทางการเมืองภาวะผู้นำที่มีต่อ ความยึดมั่นผูกพันในงานของข้าราชการตำรวจสังกัดตำรวจภูธรภาคแห่งหนึ่ง. วารสารพฤติกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 24(2), 82-98.
ภูษิต วิเศษคามินทร์. (2563). ประสิทธิผลการนำนโยบายการแก้ปัญหาจราจรไปปฏิบัติของกองบังคับการตำรวจจราจร (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา
รัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2539). ภาวะผู้นำ : หลักการและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์.
เศรษฐพัส ธเนษฐ์ภัคศพง. (2562). ประสิทธิภาพการบริหารจัดการของกองบัญชาการตำรวจนครบาล (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
สุพานี สฤษฏ์วานิช. (2550). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่ : แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.