รูปแบบการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่มีผลงานดีเด่น

ผู้แต่ง

  • พระครูสมุห์ชาคริต ปิยาคโม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, พระปริยัติธรรม, แผนกธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปในการบริหารจัดการ 2. ศึกษากระบวนการในการบริหารจัดการ และ 3. นำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการ เป็นการวิจัยเชิงวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 25 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิ 10 รูปหรือคน ตรวจสอบความน่าเชื่อถือข้อมูลแบบสามเส้าและอภิปรายผลเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปในการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่มีผลงานดีเด่น ด้านจุดแข็ง คือ มีวิทยากรที่มีความรู้ในการนำปฏิบัติ มีสถานที่อย่างชัดเจน ด้านจุดอ่อน คือ การจัดการการเงินและ การบำรุงรักษาอาคาร ด้านโอกาส คือ การจัดปฏิบัติธรรมระยะสั้นที่ชาวต่างชาติฝึกปฏิบัติธรรม กับการดูแลสุขภาพมากขึ้น ด้านอุปสรรค คือ ขาดบุคลากรจิตอาสาในการสอน ทำให้งานไม่เกิดผลสำเร็จ 2. กระบวนการในการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่มีผลงานดีเด่น พบว่า 1. ด้านการวางแผนงานมีเป้าหมาย การพัฒนาทักษะของบุคลากร 2. ด้านการจัดองค์การ มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ชัดเจนและมีส่วนร่วมในการวางแผน 3. ด้านการจัดบุคลากร มีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องและ
มีคุณภาพ 4. ด้านการเป็นผู้นำในองค์กร ผู้นำมีความสามารถบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ และ 5. ด้านการควบคุมดูแล มีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ 3. รูปแบบการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่มีผลงานดีเด่น พบว่า 1. ด้านอาวาสสัปปายะ มีการจัดภูมิทัศน์ที่ร่มรื่น การรักษาความสะอาดและสุขอนามัย 2. ด้านอาหารสัปปายะมีการปรุงอาหารมีคุณค่าทางโภชนาการต่อการปฏิบัติธรรม 3. ด้านบุคคลสัปปายะมีการพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ ให้คำปรึกษาที่มีคุณภาพ และ 4. ด้านธรรมสัปปายะมีการปฏิบัติธรรมอย่างเหมาะสม เช่น การสวดมนต์ทำวัตร มีพระวิปัสสนาจารย์ที่มีความสามารถ

References

กองพุทธศาสนศึกษา. (2556). คู่มือโครงการปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ. นครปฐม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

พระครูวิจิตรธรรมวิภัช (บุญเลิศ ปญฺญาวุโธ). (2562). การพัฒนาการส่งเสริมการปฏิบัติธรรมของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (วิทยานิพนธ์

พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2553). พระพุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระมหานพดล ปุญฺญสุวฑฺฒโก. (2560). ประสิทธิผลการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรม (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุธีวรญาณ (ณรงค์ จิตฺตโสภโณ). (2553). พุทธศาสตร์ปริทัศน์. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

แม่ชีเณรัชฌา ศักดิ์ศิริสัมพันธ์. (2556). พุทธวิธีบริหารเพื่อการพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรม (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ). (2553). คู่มือพระสังฆาธิการ. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-11