การพัฒนาการบริหารจัดการโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนในยุคปกติวิถีใหม่ของคณะสงฆ์จังหวัดตราด
คำสำคัญ:
การพัฒนาการบริหารจัดการ, โครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน, ในยุคปกติวิถีใหม่บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปของการบริหารจัดการโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนของคณะสงฆ์จังหวัดตราด 2. ศึกษาปัจจัยส่งเสริมการบริหารจัดการโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนของคณะสงฆ์จังหวัดตราด 3. เสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนของคณะสงฆ์จังหวัดตราด เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจาก
การสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคนและการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลจากพระสงฆ์ในเขตการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดตราดจำนวน 205 รูป วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปการวิจัยและผลการวิจัยเป็นความเรียง แล้วทำการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 รูปหรือคน
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปของการบริหารจัดการโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนของคณะสงฆ์จังหวัดตราด พบว่า 1. จุดแข็ง มีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารศูนย์ 2. จุดอ่อน สถานศึกษากับพระสอนศีลธรรมขาดการประสานเชื่อมต่อการทำงาน 3. โอกาส มีการจัดสรรงบประมาณ 4. อุปสรรค การสอนด้านศีลธรรมเข้ากับวิชาสามัญทั่วไป 2. ปัจจัยส่งเสริมการบริหารจัดการโครงการ พบว่า ปัจจัยส่งเสริมการบริหารจัดการโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนของคณะสงฆ์จังหวัดตราด ในภาพรวม พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3. แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการโครงการ ประกอบด้วย 1. บริบท พบว่า สถานที่เรียนมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมเป็นภูมิคุ้มกันจากปัญหาสังคมและยาเสพติด 2. ปัจจัยนำเข้า พบว่า กิจกรรมในโครงการมีความเหมาะสม สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ 3. กระบวนการ พบว่า มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และควบคุมการดำเนินงานตาม 4. ผลผลิต พบว่า สามารถใช้จ่ายงบประมาณได้ตามเป้าหมาย นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมพระพุทธศาสนามากขึ้น
References
ปรีชา กันธิยะ. (2550). คู่มือโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน (การเรียนการสอน) ปีงบประมาณ 2550. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
พรชัย อรัณยกานนท์ และคณะ. (2563). ประสิทธิผลการบริหารจัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 10(2), 63-78.
พระครูปราโมทย์ปัญญาวัฒน์ (บุญเลิศ เตชปุญฺโญ). (2564). พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของคณะสงฆ์จังหวัดสมุทรสงคราม (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสุวรรณวรการ (พิมพ์ทรัพย์ พุทธาโณ). (2557). การพัฒนาการจัดการการศาสนศึกษาแผนกธรรมของคณะสงฆ์ภาค 1 (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูอุเทศสุตาภรณ์ (บริบูรณ์ ปริปุณฺโณ). (2560). ประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15
(ดุษฎีนิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระอุดมเกียรติ วิสุทฺธาจาโร และคณะ. (2553). ความพึงพอใจของสถานศึกษาที่มีต่อครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน สังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
อนุพันธ์ อภิชยานุภาพ. (2553). สมรรถนะความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย (ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย อีสเทิร์นเอเชีย.