ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลประสิทธิผล การปฏิบัติงานของบุคลากรกรมชลประทานในเขตสำนักงานชลประทานที่ 13

ผู้แต่ง

  • เจนณรงค์ ทองอยู่ สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาองค์การ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
  • ดร.กฤษณะ ดาราเรือง คณะบริหารและการจัดการ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
  • รศ.ดร.สมเดช สิทธิพงศ์พิทยา สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาองค์การ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ความสำคัญเชิงสาเหตุ, ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม, ความผูกพันต่อองค์การ, ความยุติธรรม ในองค์การ, ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจัยด้านภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม ความยุติธรรมในองค์การ ความผูกพันต่อองค์การ และประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมชลประทาน ในเขตสำนักงานชลประทานที่ 13 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยเชิงเหตุผลที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมชลประทาน ในเขตสำนักงานชลประทานที่ 13 [ตามแบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model)]” และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลตามแบบจำลองสมการโครงสร้างประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้มาจากแบบสอบถามข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ กรมชลประทานในเขตสำนักงานชลประทานที่ 13 จำนวน 600 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เส้นทางด้วยโปรแกรม LISREL Version 8.80 แบบ Basic Model ยุติธรรมในองค์การในระดับปานกลาง (Indirect Effect or IE=0.60) อีกทั้งได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากปัจจัยด้านความยุติธรรมในองค์การโดยส่งผ่านความผูกพันต่อองค์การในระดับต่ำ (Indirect Effect or IE=0.47) โดยปัจจัยทั้งสามดังกล่าว สามารถทำนายตัวแปรตามคือประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ได้ร้อยละ 80.00 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม ความยุติธรรมในองค์การ ความผูกพันต่อองค์การ และประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากร อยู่ในระดับสูง เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) องค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ตามแบบจำลองฯ เป็นไปตามข้อตกลงทางสถิติ คือ Chi-square = 33.31, df = 38, P-value = 0.6859 และ RMSEA = 0.000 และ น้ำหนักองค์ประกอบ ³ 0.70 พบว่า 2.1) ด้านภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม มี 2 องค์ประกอบสำคัญ คือ 1) การแสดงการกระทำเชิงจริยธรรมของผู้นำ และ 2) การจัดการและสนับสนุนให้ผู้ตามแสดงการกระทำเชิงจริยธรรม 2.2) ด้านความยุติธรรมในองค์การมี 4 องค์ประกอบสำคัญ คือ 1) ผลตอบแทน 2) กระบวนการ 3) การมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน และ 4) ระบบ 2.3) ด้านความความผูกพันต่อองค์การ มี 3 องค์ประกอบสำคัญ คือ 1) จิตใจ 2) คงอยู่ต่อองค์การ และ 3) บรรทัดฐาน และ 2.4) ด้านประสิทธิผลการปฏิบัติงาน มี 2 องค์ประกอบสำคัญคือ 1) ผลงาน และ 2) คุณลักษณะการปฏิบัติการ และ 3) ประสิทธิผลการปฏิบัติ
งานของบุคลากรได้รับอิทธิพลทางตรงมาจากภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม และความยุติธรรมในองค์การในระดับต่ำ (Direct Effect or DE = 0.15, -0.14) ในขณะที่ได้รับอิทธิพลทางตรงจากความผูกพันต่อองค์การในระดับสูง (Direct Effect or DE=0.89) และในขณะเดียวกันยังได้รับอิทธิพลทางอ้อมมาจากภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม โดยส่งผ่านความยุติธรรมในองค์การในระดับปานกลาง (Indirect Effect or IE=0.60) อีกทั้งได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากปัจจัยด้านความยุติธรรมในองค์การ โดยส่งผ่านความผูกพันต่อองค์การในระดับต่ำ (Indirect Effect or IE=0.47) โดยปัจจัยทั้งสามดังกล่าวสามารถทำนายตัวแปรตามคือประสิทธิผลการปฏิบัติ
งานของบุคลากรได้ร้อยละ 80.00 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-22