ปรัชญาและความสำนึกรู้ต่อวิกฤติการศึกษาและวิกฤติการเมืองไทย

ผู้แต่ง

  • เอกศักดิ์ ยุกตะนันทน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทคัดย่อ

          บทความนี้กล่าวถึงกรอบทางทฤษฎีที่จะใช้มองความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษาและความขัดแย้งในระบบสังคมเศรษฐกิจการเมือง ได้แก่ ทฤษฎีการครองความเป็นใหญ่ และทฤษฎีจิตสำนึกที่บกพร่อง และอ้างว่า เมื่อมองผ่านกรอบดังกล่าว วิกฤติของระบอบประชาธิปไตยและวิกฤติของการศึกษาเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กันโดยตรง กล่าวคือ การศึกษาในสี่สิบปีที่ผ่านมารับใช้ชนชั้นผู้ครองความเป็นใหญ่ในรัฐ และสร้างพลเมืองชั้นกลางที่มีจิตสำนึกทางศีลธรรมที่บกพร่อง จนเป็นปฏิปักษ์กับประชาธิปไตยอย่างรุนแรง พร้อมทั้งจะแสดงการวิเคราะห์ว่าวิกฤติการศึกษาไทยไม่อาจอธิบายได้ด้วยเงื่อนไขอื่นนอกไปจากการเมืองที่ส่งผลในระดับวัฒนธรรม เพราะวิกฤติของการศึกษาไทยรุนแรงกว่าที่ชาติอื่นมี แม้ชาติเหล่านั้นจะถูกกระทบจากปัจจัยชนิดเดียวกันประเภทอื่นๆ ก็ตาม และจะอ้างในท้ายที่สุดว่าการศึกษาไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของ “ลัทธิอนุรักษ์นิยมแบบสุดขั้ว” ซึ่งฝ่ายทีมีอำนาจรัฐพยายามใช้ครอบงำสังคม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-22