ปัญหาจากการพัฒนาที่อยู่อาศัย สำหรับผู้มีรายได้น้อยในเมือง : กรณีศึกษา โครงการบ้านมั่นคงชุมชน ร่วมสามัคคี ซอยรามคำแหง 39

ผู้แต่ง

  • นพรัตน์ พรหมสนธิ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • วราลักษณ์ คงอ้วน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การพัฒนาที่อยู่อาศัย, ผู้มีรายได้น้อย, ผู้มีรายได้น้อย ในเมือง, โครงการบ้านมั่นคง, ชุมชนร่วมสามัคคี, ความยากจนในเมือง

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของชุมชนผู้มีรายได้น้อย โครงการบ้านมั่นคงชุมชนร่วมสามัคคี ซอยรามคำแหง 39 2) ศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อโครงการฯ 3) วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย และ 4) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาด้านกายภาพของชุมชนผู้มีรายได้น้อยที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์และการจัดทำแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า โครงการนำร่องบ้านมั่นคงชุมชนร่วมสามัคคี ซอยรามคำแหง 39 อันเกิดจากความต้องการหาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาที่อยู่อาศัยและความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชนได้ทำให้ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม โดยประชาชนมีความพึงพอใจต่อผลกระทบของการพัฒนาที่อยู่อาศัยและชุมชนอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก และมีความต้องการพัฒนาที่อยู่อาศัยและชุมชนในระดับสูงสุดในเรื่องการเพิ่มพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมนันทนาการ เมื่อวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย พบว่า ชุมชนประสบกับปัญหาด้านการคมนาคม และปัญหาด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดังนั้น แนวทางในการพัฒนาด้านกายภาพของชุมชนจึงประกอบด้วย 3 แนวทาง ได้แก่ แนวทางการจัดการพื้นที่สาธารณะของชุมชน แนวทางการ
ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ของชุมชน และแนวทางการจัดการที่จอดรถ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-22