สื่อสารการเมืองและสังคมผ่านภาพยนตร์รางวัลปาล์มทองคำ

ผู้แต่ง

  • คงภัทร์ บุณยะมาน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วิไลวรรณ จงวิไลเกษม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การเมือง,สื่อสารการเมืองและสังคม, ภาพยนตร์รางวัลปาล์มทองคำ, สัญญะ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเล่าเรื่อง สัญญะทางด้านการเมืองและสังคมของภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลปาล์มทองคำ ระหว่างปี พ.ศ. 2545-2554 ผู้วิจัยทำการศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการเล่าเรื่อง สัญญะ ทางด้านการเมืองและสังคมของภาพยนตร์รางวัลปาล์มทองคำระหว่างปี พ.ศ. 2545-2554 โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นภาพยนตร์ จำนวน 3 เรื่องมาวิเคราะห์และนำมาอภิปรายผลในรูปแบบของการพรรณนาวิเคราะห์ผลการวิจัยพบว่า ภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลปาล์มทองคำ ทั้ง 3 เรื่อง จะมีการสื่อสารการเมืองและสังคมผ่านโครงสร้างการเล่าเรื่องและสัญญะทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยภาพยนตร์เรื่อง The Pianist มีการสื่อสารการเมืองและสังคมในประเด็นด้านชนชั้น, ดนตรี, การเมือง (สงคราม) ส่วนภาพยนตร์เรื่อง Fahrenheit 9/11 มีการสื่อสารการเมืองและสังคมในประเด็น Freedom of Speech,สังคมการเมือง, การปิดบังอำพรางข้อมูล และภาพยนตร์ลุงบุญมีระลึกชาติ มีการสื่อสารการเมืองและสังคมในประเด็น ด้านความเชื่อ-วัฒนธรรม, สังคม, การเมือง ซึ่งภาพยนตร์ทั้ง 3 เรื่อง มีรูปแบบการสื่อสารการเมืองและสังคมที่เป็นข้อขัดแย้ง ตรงข้ามตามหลักการทฤษฏีการปฏิบัติทางการเมืองแบบคู่ตรงกันข้าม (Binary opposition) และรูปแบบการเล่าเรื่องทางการเมืองและสังคมที่ทำหน้าที่สื่อสารการเมืองจากระดับประเทศสู่ระดับนานาชาติ
          นอกจากนี้ รางวัลปาล์มทองคำยังช่วยกระตุ้นและสนับสนุนให้ภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลถูกสื่อสารด้านการเมืองและสังคมในอีกทางหนึ่ง โดยจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญด้านภาพยนตร์รางวัลปาล์มทองคำในประเทศไทยพบว่า ภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลปาล์มทองคำส่วนใหญ่จะถูกสื่อมวลชนเชื่อมโยงกับประเด็นด้านการเมืองและสังคมในระดับนานาชาติในปีที่ภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ ได้รับรางวัล เพราะรางวัลปาล์มทองคำเป็นรางวัลทางภาพยนตร์ได้รับความสนใจและการยอมรับจากนานาชาติและมีความเป็นสากลสูง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-22