ทัศนะของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อแนวทางการแก้ไขการโจรกรรมทรัพย์สินของกรมทางหลวง กรณีศึกษา ทางหลวง หมายเลข 35 สายธนบุรี - ปากท่อ

ผู้แต่ง

  • ณิชนันท์ ไฝจันทร์

คำสำคัญ:

ทางหลวงหมายเลข 35, กรมทางหลวง, โจรกรรมทรัพย์สิน

บทคัดย่อ

               ทัศนะของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อแนวทางการแก้ไขการโจรกรรมทรัพย์สินของกรมทางหลวง กรณีศึกษา ทางหลวงหมายเลข 35 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการโจรกรรมทรัพย์สินของกรมทางหลวงบนทางหลวงหมายเลข 35 และเพื่อศึกษาทัศนะของผู้ปฏิบัติงานที่มีต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาการโจรกรรมทรัพย์สินของกรมทางหลวง การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In Depth Interview) เป็นเทคนิคในการเก็บข้อมูลมีประชากรที่ใช้ในการศึกษา ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานในกรมทางหลวงปฏิบัติหน้าที่ด้านการดูแลอำนวยความปลอดภัยทรัพย์สินกรมทางหลวง จำนวน 5 ราย ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุของการเกิดปัญหานั้น เกิดจากทางหลวงสายนี้เป็นย่านอุตสาหกรรม มีพื้นที่รกร้างอยู่เป็นจำนวนมาก อีกทั้งการติดตั้งอุปกรณ์และวัสดุงานทางที่ไม่ตรงตามมาตรฐาน จึงเป็นจุดเสี่ยงอันก่อให้เกิดปัญหาการโจรกรรมฯ สำหรับทัศนะเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไข จะมุ่งเน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการรักษาอุปกรณ์งานทางและทรัพย์สินสาธารณะ และ นำหลักการทางด้านวิศวกรรมมาใช้ในการออกแบบวัสดุและอุปกรณ์งานทางเพื่อให้มีต้นการผลิตการจัดซื้อจัดจ้างที่ลดลง ติดตามการจับกุมและดำเนินคดีให้เป็นตัวอย่างและจริงจังพิจารณาข้อแก้ไขทางกฎหมายใหม่ให้มีความเหมาะสม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-22