การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว:กรณีศึกษา การพัฒนาเศรษฐกิจและนโยบายส่งเสริมการลงทุน ของ แขวงจำปาสัก
คำสำคัญ:
การพัฒนาเศรษฐกิจและนโยบายส่งเสริมการลงทุน, แขวงจำปาสัก, ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและนโยบายส่งเสริมการลงทุนของ แขวงจำปาสัก ที่มีทั้งโอกาสและผลกระทบด้านลบต่อแขวง อีกทั้งยังศึกษาถึงความพร้อมและไม่พร้อมของแขวง ไม่ว่าจะเป็นด้านโครงสร้างพื้นฐานของแขวง ด้านทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งแนวทางที่เป็นนโยบายรวมของประเทศและนโยบายหรือแนวทางการดำเนินงานของขั้นแขวงในการส่งเสริมการลงทุนที่เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของแขวง รวมทั้งเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศด้วย โดยการวิเคราะห์จากแนวความคิดที่เป็นหลักการของการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวของอาเซียน ซึ่งได้กำหนดไว้ในพิมพ์เขียวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint)
ในเรื่องของการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว แขวงจำปาสักจะมีทั้งโอกาสและผลกระทบด้านลบต่อแขวงอย่างเช่น เมื่อมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะทำให้มีการรวมตัวและขยายตัว ในภูมิภาคเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะมีผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของแขวงจำปาสัก ไม่ว่าจะเป็นการทำให้โครงสร้างระบบเศรษฐกิจของแขวง เปลี่ยนแปลงไปตามแนวทางการเปลี่ยนเป็นอุตสาหกรรมที่ทันสมัยทีละก้าว มีการสร้างและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจให้เข้มแข็งมากขึ้น เช่น การนำเข้าเทคโนโลยีที่ทันสมัยของนักลงทุน ทำให้มีการผลิตสินค้าที่หลากหลายชนิดและการบริการในหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกชื้อสินค้าและบริการที่มีคุณภาพดีที่มีราคาถูกลง อย่างไรก็ตามเมื่อมีโอกาสก็ต้องมีอุปสรรคต่อกับการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศในแขวง จำปาสัก สปป.ลาว โดยเฉพาะเรื่องสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของนักลงทุน อย่างเช่น เส้นทางคมนาคมยังมีน้อย น้ำประปา ไฟฟ้ายังไม่ทั่วถึงอีกทั้งยังไม่มีทางออกสู่ทะเลทำให้การขนส่งสินค้าใช้ต้นทุนมากตามไปด้วย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทัศนะ ข้อคิดเห็น ภาพที่ปรากฏ ในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน บรรณาธิการและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย และไม่ถือเป็นความรับผิดชอบ ลิขสิทธิ์เป็นของผู้เขียนและวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การตีพิมพ์ชื่อต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียน และวิทยาลัยสหวิทยาการโดยตรง และเป็นลายลักษณ์อักษร