การศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจชายแดนไทย-พม่า กรณีศึกษา : ด่านสิงขร ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • ภัทรวดี โอฬารวัตร วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง

คำสำคัญ:

ผลกระทบทางเศรษฐกิจชายแดน, ไทย, พม่า

บทคัดย่อ

               การศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจชายแดนไทย-พม่า กรณีศึกษา: ด่านสิงขร ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการความสัมพันธ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจชายแดนไทย-พม่า ศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจชายแดนไทย-พม่า และศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจชายแดนไทย-พม่า ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จากการศึกษาพบว่า ด่านสิงขร ได้รับการประกาศเป็นจุดผ่อนปรนทางการค้าเมื่อ พ.ศ. 2540 และได้เริ่มดำเนินการค้าชายแดนมาจนกระทั่งปัจจุบันรวมระยะเวลา 15 ปี ในอดีตการค้าชายแดนบริเวณดังกล่าวมีมูลค่าไม่สูงนักเมื่อเทียบกับปัจจุบัน ซึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจชายแดนขยายตัวเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2553 ที่มีการเสนอยกระดับ “ด่านสิงขร” เป็นจุดผ่านแดนถาวร ส่งผลให้มูลค่า การค้าชายแดนเพิ่มสูงขึ้นปีละไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท สำหรับปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจชายแดน ประกอบด้วย 2 ปัจจัยหลัก (ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก) โดยแสดงผ่านนโยบายทางการเมืองและเศรษฐกิจ รวมทั้งแรงกระตุ้นจากสถานการณ์ภายนอก เป็นต้น จากการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเมืองชายแดนแห่งนี้ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจชายแดนทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยจะก่อให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว รวมทั้งจะเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าเส้นใหม่จากแหล่งผลิตของไทยออกสู่พม่า และเสริมระบบการขนส่งและการกระจายสินค้าในภูมิภาคตะนาวศรีให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ผลกระทบทางเศรษฐกิจชายแดนที่เกิดขึ้นนั้นมีผลต่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและพม่า โดยการศึกษาครั้งนี้ถือเป็นแรงผลักสำคัญในการเปิดประตูความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับพม่าในอนาคต

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-22