การศึกษาความสัมพันธ์เชิงอำนาจในระบบการจัดการศึกษาของไทย
คำสำคัญ:
แนวคิดชาตินิยม, ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ, การจัดการศึกษาไทยบทคัดย่อ
บทความนี้ต้องการนำเสนอถึงประเด็นของความสัมพันธ์เชิงอำนาจในระบบการจัดการศึกษาของไทย ที่ส่งผลต่อระบบการจัดการศึกษาไทย ซึ่งการศึกษานี้ผู้เขียนใช้วิธีการวิเคราะห์และการตีความจากเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดความสัมพันธ์เชิงอำนาจ และระบบการจัดการศึกษาของไทย โดยแนวคิดดังกล่าวจะถูกสอดแทรกไว้ในเนื้อหาของแบบเรียน เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักรู้และสำนึกในความเป็นไทยในแบบเดียวกันทั้งหมด รัฐและกระทรวงศึกษาธิการพยายามตอกย้ำความเป็นชาติไทยให้กับประชาชน โดยให้เข้าไปอยู่เป็นส่วนหนึ่งของระบบการศึกษา ซึ่งผลของการสร้างความเป็นรัฐชาติที่ว่าการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันนี้ ส่งผลให้เกิดการแบ่งแยกเชื้อชาติทางชาติพันธุ์ และหลายครั้งก็นำไปสู่ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์อีกด้วย ทั้งนี้ การจัดการศึกษาแบบเอกวัฒนธรรมทางการศึกษาที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ ล้วนเป็นไปเพื่อเน้นย้ำให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของความเป็นไทย โดยพยายามทำให้ทุกกลุ่มชาติพันธุ์ในไทยเกิดความภาคภูมิใจความเป็นไทย ที่ซึ่งเป็นอุดมการณ์ที่พยายามปลูกฝังให้กับคนไทยมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน เพราะเป็นการย้ำเตือนและหล่อหลอมให้คนทุกกลุ่มชาติพันธุ์ในชาติ เกิดความรัก ความภาคภูมิใจ และความหวงแหนในความเป็นชาติไทย ดังนั้น ความสัมพันธ์เชิงอำนาจในระบบการจัดการศึกษาของไทย จึงเป็นการตอบสนองความจำเป็นของรัฐที่พยายามส่งเสริมการสร้างรัฐไทยสมัยใหม่ ที่มีลักษณะพิเศษของความเป็นไทย โดยแสดงออกมาเพื่อกระตุ้นให้เกิดการผสมกลืนกลายทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย และการสร้างเอกราชแห่งชาติผ่านระบบการจัดการศึกษา
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทัศนะ ข้อคิดเห็น ภาพที่ปรากฏ ในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน บรรณาธิการและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย และไม่ถือเป็นความรับผิดชอบ ลิขสิทธิ์เป็นของผู้เขียนและวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การตีพิมพ์ชื่อต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียน และวิทยาลัยสหวิทยาการโดยตรง และเป็นลายลักษณ์อักษร