เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อความตระหนักรู้อันนำไปสู่การมีส่วนร่วมของประชาชนในประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยกับการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA)

ผู้แต่ง

  • ซูไฮลี ยามา Chulalongkorn University
  • อุ่นเรือน เล็กน้อย

คำสำคัญ:

ความตระหนักรู้, การมีส่วนร่วม, การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA)

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความตระหนักรู้อันนำไปสู่การมีส่วนร่วมของประชาชนในประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยกับการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA). โดยใช้วิธีการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ จากตำราเรียน เอกสาร บทความวิชาการ และข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต พร้อมทั้งใช้แนวคิดการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ และแนวคิดความตระหนักรู้ มาเป็นแนวทางในการศึกษา พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลการศึกษา ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตระหนักรู้อันนำไปสู่การมีส่วนร่วมของคนในประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย มีความแตกต่างกันหลายปัจจัย เช่น รูปแบบการดำเนินและการบริหารจัดการของภาครัฐอันเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเข้ามามีส่วนร่วมและเกิดความตระหนักรู้  ซึ่งคนในประเทศญี่ปุ่นมีพื้นฐานความรู้และเข้าใจปัญหาสิ่งแวดล้อมจริง ทำให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมสูง และประเทศไทยยังขาดองค์ความรู้ที่รัฐบาลไม่ได้เข้ามาส่งเสริมและให้การสนับสนุนอย่างเต็มความสามารถ ส่งผลให้เกิดขาดความร่วมมือในขั้นตอนกระบวนการประเมิน (SEA). นอกจากนี้ปัจจัยแวดล้อมและจิตสำนึกเป็นปัจจัยที่ค้นพบว่ามีส่วนต่อการตระหนักรู้ของคนทั้งสองประเทศ ซึ่งพบว่าคนในประเทศญี่ปุ่นมีจิตสำนึกในความเป็นจิตสาธารณะ ส่งผลให้เกิดความตระหนักรู้และการพัฒนาประเทศด้วยเช่นกัน สำหรับประชาชนในประเทศไทยไม่ได้ถูกขับเคลื่อนในการส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของสาธารณะประโยชน์เท่ากับประเทศญี่ปุ่น จึงส่งผลให้ขาดความร่วมมือในหลายโครงการต่าง ๆ ที่ประชาชนต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง และรัฐบาลควรเข้ามาส่งเสริมในการให้ความรู้แก่ภาคประชาชนเพื่อที่จะได้มีความรู้ความเข้าใจและเข้ามาส่วนร่วมต่อการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมระดับยุทธ์ศาสตร์ (SEA).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30