การเปรียบเทียบแนวคิดจริยศาสตร์ในทรรศนะของอิมมานูเอล ค้านท์ (Immanuel Kant) และ จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) ต่อการการุณยฆาต

ผู้แต่ง

  • Sutida Sanglertlam -
  • วิมลรัตน์ ศรีโยหะ

คำสำคัญ:

การุณยฆาต, กฎสากล, ประโยชน์นิยม, เจตจำนงที่ดี

บทคัดย่อ

การเปรียบเทียบแนวคิดจริยศาสตร์ในทรรศนะของ อิมมานูเอล ค้านท์ (Immanuel Kant) และ จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) ต่อการการุณยฆาต มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบแนวคิดจริยศาสตร์ของ อิมมานูเอล ค้านท์ และ จอห์น สจ๊วต มิลล์ต่อการการุณยฆาต นำไปสู่การวิเคราะห์ว่าแนวคิดทางจริยศาสตร์ของนักปรัชญาท่านใดเป็นรากฐานของความคิดเห็นต่อการสนับสนุนและไม่สนับสนุนการทำการุณยฆาตซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันของคนในสังคม โดยพบว่าแนวคิดของ อิมมานูเอล ค้านท์ เป็นแนวคิดที่ไม่สนับสนุนการทำการุณยฆาต เนื่องจากค้านท์ใช้เจตนาแรกเริ่มของการกระทำเป็นตัวตัดสินใจเจตนาที่ดีโดยไม่สนใจผลลัพธ์ ถ้าหากปราศจากเจตจำนงที่ดี (Good will) การกระทำนั้นก็จะไม่ถูกต้องหรือไม่มีคุณค่าทางจริยธรรมตั้งแต่แรก หากพิจารณาด้วยเหตุผลที่เป็นกฎสากลแล้ว การจบชีวิตตนเองหรือการทำลายชีวิตผู้้อื่นเป็นสิ่งที่ผิด ก็คือผิดโดยไม่มีข้อแม้ หากพิจารณาเจตจำนงของผู้กระทำแล้วการยุติชีวิตตนเองโดยการุณยฆาตถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎสากล และผิดต่อสิทธิมนุษยชนว่าด้วยสิทธิในชีวิตและร่างกายและแพทย์ที่ทำการการุณยฆาตซึ่งเป็นการยุติชีวิตผู้อื่น หรือฆ่าชีวิตผู้อื่น ก็ถือว่าขัดกับกฎสากลและถือเป็นการละเมิดปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ส่วนแนวคิดประโยชน์นิยมของ จอห์น สจ๊วต มิลล์ เป็นแนวคิดที่ไม่ได้สนับสนุนการุณยฆาตโดยตรงแต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธการทำการุณยฆาต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ หากผลลัพธ์เกิดประโยชน์และทำให้คนจำนวนมากมีความสุขก็ถือว่าเป็นการกระทำที่ดี หากผลลัพธ์ทำให้คนจำนวนมากเป็นทุกข์ก็ถือเป็นกระทำที่ไม่ดีตามทฤษฎีประโยชน์นิยมของมิลล์

References

จริยศาสตร์เชิงกรณียธรรม. (2554). สืบค้น 19 มิถุนายน 2567, จาก https://www.parst.or.th/

philospedia/Deontologicalethics.html.

ดวงพร เพชรคง. (2559). การุณยฆาต. สืบค้น 22 กันยายน 2566, จาก https://www.parliament.go.th/ ewtadmin/ewt/.pdf.

ดวงเด่น นาคสีหราช. (2561). สิทธิของผู้ป่วยที่สิ้นหวังในการตายอย่างสงบในจังหวัดมหาสารคาม. สืบค้น 24 กันยายน 2566, จาก https://so05.tcithaijo.org/index.php/lawjournal/article/ view.

ทิพากร ไชยประสิทธิ์. 11 ประเทศ กฎหมายไฟเขียว “ตายอย่างสงบ”. (2562). สืบค้น 24 กันยายน 2566, จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/278173.

ธพิพัฒน์ วรพิพัฒนการกิจ. (2563). การุณยฆาต : สิทธิมนุษยชนที่ควรมีเพื่อคงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. สืบค้น 26 กันยายน 2566, จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/gvc-tu/article/view/ 248861/169221.

นิติ เนื่องจำนงค์ และ สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2564). ฉบับที่ 2 กฎหมายต่างประเทศสำหรับการรับรองสิทธิและอนุญาตให้บุคคลใช้สิทธิ ในการขอตายด้วยความกรุณา. สืบค้น 30 กันยายน 2566, จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/.

นพพล วิทย์วรพงศ์. (2563). การตัดสินใจในระยะท้ายของชีวิตกับสังคมไทย: บทเรียนจากประสบการณ์ของต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน. (2563). สืบค้น 12 ตุลาคม 2566, จาก https://www.amnesty.or.th/our-work/hre/what-udhr/.

ประพีร์ อภิชาติสกล. (2562). เกิด แก่ ไม่อยากเจ็บ แล้วตายเลยดีไหม? มอง ‘การุณยฆาต’ แบบรอบด้าน. สืบค้น 12 ตุลาคม 2566, จาก https://thestandard.co/euthanasia/#:~:text=การุณยฆาตเป็นการทำลายความไว้วางใจ,จะยังมีเจตนาช่วย.

พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 2550. (2550). สืบค้น 25 กันยายน 2566, จาก https://www.dms.go.th/backend/Content/Content_File/Information_Center/Attach/25621124013609AM_17.pdf.

พระวรวัชรินทร์ สิริภทโท และ วิโรจน์ อินทนนท์. (2564). การศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องของสิทธิของโทมัส ฮอบส์ และจอห์น ล็อค (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สืบค้น 12 ตุลาคม 2566, จาก https://so02.tci-haijo.org/index.php/JBS/article/view/253263/170903.

พระอธิการประทีป ปิยสีโล (ศรีภิรมย์) และ ดร.เสรี ศรีงาม. (ม.ป.ป). การศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องศีลธรรมของพุทธปรัชญาเถรวาทกับศีลธรรมของอิมมานูเอลค้านท์. สืบค้น 14 ตุลาคม 2566, จาก https://nkr.mcu.ac.th/gs/wp-content/uploads/2018/06/บทความ-พระอธิการประทีป.pdf.

พงษ์เทพ สันติกุล. (2562). สิทธิมนุษยชน สิทธิพลเมือง และสิทธิทางสังคม. สืบค้น 20 ตุลาคม 2566, จาก https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/6461.

วัชระ งามจิตรเจริญ. (2565). แนวคิดเรื่องสิทธิที่และการฆ่าตัวตายในทัศนะพระพุทธศาสนา สืบค้น 20 ตุลาคม 2566, จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/.

วนิดา โสภณสินสุข และ อัจฉรียา ชูตินันทน์. (2565). สิทธิการตายตามธรรมชาติ: ศึกษากรณีการแสดงเจตนาไม่ประสงค์รับการรักษาของผู้ป่วยและทายาท. สืบค้น 22 ตุลาคม 2566, จาก https://so06.tci-thaijo.org/index/.

ศูนย์สิทธิมนุษยชน. (2557). การุณยฆาต. สืบค้น 24 ตุลาคม 2566, จาก https://so05.tci-thaijo.org/.

สำนักงานกฎหมาย. ประมวลกฎหมายอาญา. สืบค้น 25 ตุลาคม 2566, จาก https://www.xn--42cgi4cjab1btnchd1ed6dvnqc6f.com/.

อภิโชค เกิดผล. (2564). การประกอบสร้างความหมายของการุณยฆาตในสังคมไทยร่วมสมัย:บทบาทร่วมการแพทย์-กฎหมาย-พุทธศาสนา. สืบค้น 20 ตุลาคม 2566, จาก http://ethesisarchive.library. tu.ac.th/thesis/2021/TU2021_6124300036_15701_20557.pdf.

Immanuel Kant. (1948). Groundwork of The Metaphysic of Morals by Immanuel Kant. In H.J. Paton. The Moral Law or Kant’s Groundwork of The Metaphysic of Morals (pp. 55-80). Great Britain: William Brendan and Son Ltd, UK.

John Stuart Mill. (2003). Utilitarianism. In Mary Warnock (Eds.), Utilitarianism and On Liberty (pp. 181-199). Oxford: Blackwell Publishing Ltd. UK.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30