กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เมธชนนท์ ประจวบลาภ -
  • สถิดาพร คำสด

คำสำคัญ:

กฎหมายการศึกษา, การเรียนรู้ตลอดชีวิต, การศึกษาต่อเนื่อง

บทคัดย่อ

การเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นแนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี เนื่องจากความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตไม่สามารถนำไปใช้ได้ตลอดไป โดยการเรียนรู้ตลอดชีวิตเกี่ยวข้องกับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ถือเป็นบริการสาธารณะที่ดำเนินการโดยภาครัฐหรือมอบหมายให้หน่วยงานผู้เกี่ยวข้องดำเนินงานภายใต้อำนาจบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งการมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตร่วมกับการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ จะส่งผลให้แนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเกิดขึ้นได้จริงในสังคมไทย บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ทบทวนและวิเคราะห์ข้อกฎหมายพร้อมทั้งสภาพการใช้งานกฎหมาย ผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีกฎหมายที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตหลายฉบับและส่วนใหญ่ครอบคลุมตามหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิต อย่างไรก็ตามยังพบปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายของผู้ปฏิบัติงาน คือ การขาดความรู้ความเข้าใจ และกฎหมายบางฉบับไม่สอดคล้องกับกฎหมายการศึกษาชาติและหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิต

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2562). ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง แนวทางการดำเนินงานระบบคลังหน่วยกิตระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2562. สืบค้น 5 กันยายน 2567, จาก http://dqe.mhesi.go.th/pdf/CreditBank/Guidelines-CreditBank-2562.pdf.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (ฉบับภาษาไทย-อังกฤษ). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

กลุ่มงานคณะกรรมาธิการการศึกษา. (ม.ป.ป). กฎหมายด้านการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง. สืบค้น 19 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.parliament.go.th/ewtcommittee/ewt/edu/download/article /article_20141126092444.pdf.

ดวงเดือน แสงแพร้ว และภาวิรัช พรหมเทพ. (2567). การเรียนรู้ตลอดชีวิต: แนวทางการส่งเสริมตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษาและบทบาทของสถาบันอุดมศึกษา. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 14(1), 1-10.

ชลธิชา อัศวนิรันดร์ และคณะ. (2567). รายงานฉบับสมบูรณ์การประชุมเชิงวิชาการระดับภูมิภาค

เรื่อง รูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุในประเทศสมาชิกอาเซียนบวกสาม. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุษรา นิยมเวช. (2567). สหวิทยาการทางการศึกษาตลอดชีวิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พชร สุขวิบูลย์. (2563). การสำรวจพฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วง COVID-19. สืบค้น 16 ธันวาคม 2567, จาก https://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2020/TU_2020_6202030919_1 2971_13417.pdf

เมธชนนท์ ประจวบลาภ. (2565). นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตในประเทศไทย. วารสารการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2(1), 68-82.

เมธชนนท์ ประจวบลาภ. (2566). หลักการบริหารของศูนย์การเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 1(5), 97-112.

เมธชนนท์ ประจวบลาภ และคณะ. (2566). แนวทางการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบของเด็กและเยาวชนในระบบการศึกษาและการศึกษานอกระบบ.

กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา. (2560). สิทธิหน้าที่ที่ท้าทาย...พลเมืองไทยร่วมขับเคลื่อนการศึกษา.

วารสารครุศาสตร์, 45(1), 358-363.

ศาลปกครอง. (2565). สืบค้นคำพิพากษา/คำสั่ง/คำแถลงการณ์ฯ คดีหมายเลขแดงที่ 2566/2565.

สืบค้น 25 กันยายน 2567, จาก https://www.admincourt.go.th/admincourt/site/ 05SearchSuitDetail.html?id=499317138E9C9785A82AD0C9B1EFFDA5.

สนอง โลหิตวิเศษ. (2548). การศึกษาตลอดชีวิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สภาองค์กรของผู้บริโภค. (2567). นักการศึกษาชี้เรียนฟรีไม่ใช่ฝัน ทำได้จริง เรียกร้อง รบ.มุ่งมั่นให้เหมือน “เงินดิจิทัล”. สืบค้น 28 พฤศจิกายน 2567, จาก https://www.tcc.or.th/free-basic-education/.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2550). พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ

พ.ศ. 2550. สืบค้น 16 ธันวาคม 2567, จาก https://www.dcy.go.th/public/mainWeb/ file_download/1637833342893-691571183.pdf

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2558). บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การจัดการศึกษาตามโครงการ นสว. ขอโอกาสของโรงเรียนหนองชุมแสงวิทยา เรื่องเสร็จที่ 2141/2558. สืบค้น 16 ธันวาคม 2567, จาก http://comment.ocs.go.th/main/download/dlf/pdf/2141_2558_ความเห็นฉบับเต็ม.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2561). บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การเก็บค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเสร็จเลขที่ 1291/2561. สืบค้น 28 พฤศจิกายน 2567, จาก http://comment.ocs.go.th/main/download/dlf/pdf/ 1291_2561_ความเห็นฉบับเต็ม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2567). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวทาง

การดำเนินงานธนาคารหน่วยกิตระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2567.

สืบค้น 1 กันยายน 2567, จาก https://www.obec.go.th/archives/1024099.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ:สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2566). พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). รายงานการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยและบุตรหลานของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). การติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2566). สรุปสาระสำคัญรายงานการติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 ในระยะ 5 ปีแรกของแผน (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสาม พ.ศ.2566-2570. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุมาลี สังข์ศรี. (2558). การพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุมาลี สังข์ศรี. (2556). การเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประเทศไทย. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อารีรัตน์ เลาหพล. (ม.ป.ป). เอกสารวิชาการส่วนบุคคล เรื่อง มาตรฐานในกระบวนการยุติธรรมไทย.

สืบค้น 5 สิงหาคม 2567, จาก https://www.constitutionalcourt.or.th/occ_web/ ewt_dl_link.php?nid=8731.

UNESCO Institute for Lifelong Learning. (2022). Making lifelong learning a reality a handbook. Hamburg: UNESCO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-28

How to Cite

ประจวบลาภ เ., & คำสด ส. (2024). กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตในประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการ, 21(2). สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/citujournal/article/view/278263