โนราโกลนเมืองตรัง : การรื้อสร้างความหมายในสังคมหลังสมัยใหม่
Keywords:
โนราโกลน, การแสดงพื้นบ้าน, การรื้อสร้างความหมาย, Nora Klon, Folk Performance, DeconstructionAbstract
Abstract
บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับประวัติและการรื้อสร้างความหมายของโนราโกลนในพื้นที่จังหวัดตรัง เก็บข้อมูลภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบสโนว์บอลของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ คณะโนราโกลนสามสลึงตำลึงทอง นักวิชาการและผู้ชม จำนวน 12 คน และการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมในการแสดงโนราโกลน พบว่าโนราโกลนเมืองตรังเป็นการแสดงพื้นบ้านที่เกิดขึ้นในราวปี 2512 จากการได้รับอิทธิพลในจังหวัดใกล้เคียงแล้วนำมาดัดแปลงในแบบฉบับของตนโดยเน้นมุขตลกที่เกิดขึ้นภายในชุมชน ภายใต้การแสดงที่ไร้ซึ่งกรอบเวลา รูปแบบ และพิธีกรรม แต่หลังการเกิดกระแสการต่อรองอำนาจของศิลปะพื้นบ้านกับวัฒนธรรมกระแสหลักตามแนวคิดสังคมหลังสมัยใหม่ โนราโกลนถูกมองว่าเป็นวาทกรรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อต่อต้านการกดทับของกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงการร่ายรำมโนราห์ได้ จึงพยายามสร้างพื้นที่แสดงของตนในลักษณะย้อนแย้งการแสดงมโนราห์ขึ้น และหลังจากที่การแสดงประเภทนี้ห่างหายไปจากพื้นที่เมืองตรังหลายปี ภาครัฐจึงได้สร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวของโนราโกลนขึ้นมาใหม่เพื่อนำไปต่อรองกับอำนาจของวัฒนธรรมส่วนกลางในปี 2552 ด้วยการร่วมกำหนดท่ารำ บทกลอน เครื่องแต่งกาย และแบบแผนการแสดงให้มีอัตลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างจากโนราโกลนในพื้นที่อื่น พร้อมทั้งสร้างปฏิบัติการเปลี่ยนสถานะจากจำอวดพื้นบ้านกลายเป็นภาพตัวแทนทางวัฒนธรรมประจำจังหวัดตรัง จากการสำนึกร่วมความเป็นของแท้ดั้งเดิมแห่งท้องถิ่นเมืองตรังผ่านเวทีการแสดงวัฒนธรรมระดับจังหวัดและประเทศอย่างต่อเนื่อง
Nora Klon of Trang : Deconstruction meaning in postmodern society.
This article presents the history and deconstruction meaning of Nora Klon at Trang province. Keep the data with in-depth interviews with snowball's group provide key Informants are Samsalueng team, academician and audiences about 12 peoples and observers did not participate in the showing of Nora Klon. The results revealed that Nora Klon of Trang province created from game about 2512 B.C. has been influential in neighboring provinces and adapted their approach to focus on gags that occur within the community. Under the showing without forms and rituals. After there, on the current power conflict between folk art with mainstream culture on the post-modern society. Nora Klon is seen as a discourse built to resist the pressure of those without access to the Manora dance. Their tried to create a space of their own in a paradoxical show up Manora. After playing this had gone away from Trang longtime ago. The government has created a unique panorama of the stirrups up to negotiate with the central culture on 2552 by coordinating catchphrase dance costume and stereotypes play a unique identity different from other areas. And Enhance the position from folk art became a representative cultural for the province. The realization of the authentic local culture stage through Trang province and the country continues.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
© 2018 by Asian Journal of Arts and Culture, Walailak University. All rights reserved.